การปรับปรุงคุณภาพของเปลือกข้าวโพดต่อค่าองค์ประกอบทางเคมี และความสามารถในการย่อยได้ในหลอดทดลอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและการย่อยได้ในหลอดทดลองของการปรับปรุงคุณภาพเปลือกข้าวโพดด้วยจุลินทรีย์ พด.1 และอีเอ็ม โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) แบ่งเป็น 5 กลุ่มการทดลองคือฟางข้าวที่ไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพ (RS) ทำการหมักฟางข้าวด้วย พด.1 ร่วมกับรำละเอียดที่ 0 วันและ 14 วัน (T1 และ T2) และทำการหมักฟางข้าวด้วยอีเอ็มร่วมกับกากน้ำตาลที่ 0 วันและ 14 วัน (T3 และ T3) กลุ่มละ 3 ซ้ำ จากนั้นนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและวัดค่าการย่อยได้โดยใช้เทคนิคการวัดแก๊ส ผลการทดลองพบว่าปริมาณโปรตีนของกลุ่ม T1, T2, T3 และ T4 สูงกว่ากลุ่ม CH (P<0.01) แต่วัตถุแห้ง, เยื่อใยหยาบและเซลลูโลสของกลุ่ม CH สูงกว่าทุกกลุ่มการทดลอง (P<0.01) นอกจากนี้การหมักเปลือกซังข้าวโพดด้วย พด.1 เป็นเวลา 14 วันทำให้ค่า ME มีแนวโน้มลดลง (P=0.06) จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่าการปรับปรุงคุณภาพของเปลือกข้าวโพดโดยการเติม พด.1และอีเอ็มมีการเพิ่มขึ้นของระดับโปรตีนและไขมัน ยังส่งผลให้ปริมาณของเยื่อใยหยาบ NDF ADF ปริมาณเซลลูโลสมีการลดลง
Article Details
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...