ผลของใบอ้อยคลุมดินต่อการจัดการวัชพืชเพื่อประยุกต์ใช้ในอ้อยอินทรีย์

Main Article Content

Chonticha Berkjai

บทคัดย่อ

เศษใบอ้อยเป็นของเสียทางการเกษตรจากการเก็บเกี่ยวใบอ้อย ในใบอ้อยมีสารอัลลีโลเคมีคอลซึ่งยับยั้งการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืช งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพในการควบคุมวัชพืชของเศษวัสดุที่ใช้คลุมดินและผลกระทบต่อวัชพืช สารสกัดหยาบของเศษใบอ้อยสามารถยับยั้งการงอกของเมล็ดและการเจริญเติมโตของเมล็ดพืชทดสอบ (เมล็ดหญ้าปากควาย และเมล็ดขยุ้มตีนหมา) โดยใบอ้อยถูกสกัดด้วยเอทานอล 50 เปอร์เซ็นต์เพื่อดึงสารที่อยู่ในเซลล์ออกมา ที่อัตรา 100 กรัม/ลิตร สามารถยับยั้งการงอกได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ของพืชทดสอบ 2 ชนิด ส่วนการคลุมใบอ้อยที่ผิวดินพบว่า การใช้ใบอ้อยทั้งสกัดและไม่ได้สกัดสาร สามารถควบคุมการงอกของวัชพืชได้แต่ประสิทธิภาพการควบคุมในส่วนของใบที่ไม่ได้สกัดสาร สามารถควบคุมการงอกของวัชพืชได้ดีกว่าใบที่มีการสกัดสารในอัตราการคลุมที่เท่ากัน และการคลุมที่ 8 ตัน/เฮกตาร์ สามารถควบคุมการงอกของหญ้าปากควายได้ 100% ในช่วงระยะเวลา 28 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย