การบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนมีส่วนร่วมตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศเกษตรจากการพัฒนาระบบชลประทาน

Main Article Content

เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ
วันดี วัฒนชัยยิ่งเจริญ
กวีชา แซ่หว้า
กมลภรณ์ บุญถาวร
พรนภา สุตะวงค์
พรมงคล ชิดชอบ

บทคัดย่อ

           การศึกษาเพื่อเตรียมการขับเคลื่อน การตั้งรับและปรับตัวของเกษตรกรต่อการพัฒนาระบบเกษตรกรรมด้วยการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนมีส่วนร่วม ดำเนินการในพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำแม่พวก อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 479 ราย มีความรู้ต่ำกว่าปริญญาตรี 94.36% มีอายุเกิน 40 ปี คิดเป็น 86.64% มีเพียง 16.29% ที่มีอาชีพเกษตรกรรม มีหนี้สิน 64.42% ผู้ให้ข้อมูลต้องการให้เกิดการรวมกลุ่มผู้ใช้น้ำ
16 กลุ่ม ขอให้ยกระดับเป็นกลุ่มบริหารจัดการผลิตทางการเกษตร มีตัวแทนเกษตรกร 28 ราย จาก 3 ตำบล ร่วมกันหารือและสัมภาษณ์เชิงลึก มีการวิเคราะห์เพื่อวางแผนการตั้งรับและปรับตัวในอนาคต โดยเกษตรกรต้องการแนวทางในการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนในรูปแบบระบบนิเวศการเกษตรใหม่ อาทิ เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรทฤษฎีใหม่และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร โดยอาศัยจุดแข็งของภูมิสังคม รวมทั้งต้องการแก้ไขปัญหาระบบการเกษตรเดิมที่มีรายได้ต่ำ แก้ไขปัญหาหนี้สินจากวิกฤตหรือภัยคุกคามเดิมคือ น้ำท่วม น้ำหลากและขาดแคลนน้ำ ต้องการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการการผลิต การแปรรูปและการตลาด มีความพร้อมในการเปิดรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงระบบทั้ง 12 ประเด็น ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มเกษตรกรตัดสินใจเลือกระบบการผลิตใหม่ทั้ง 18 ระบบ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงถึงความพร้อมในการปรับตัวต่อการใช้ระบบชลประทานใหม่แบบท่อส่งน้ำและเกษตรกรให้ความสำคัญต่อผู้ที่มีบทบาทต่อการสร้างความสำเร็จ ทั้ง 5 กลุ่ม (ผู้นำท้องถิ่น เกษตรกร ผู้นำเกษตรกร พ่อค้า นักวิชาการภาครัฐหรือข้าราชการ) (P < 0.05) โดยภาพรวมเกษตรกรในพื้นที่พร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการยกระดับอาชีพเกษตรกรรมและสร้างเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมชลประทาน. (2567). รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอ่างเก็บน้ำแม่พวก ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัยจังหวัดแพร่. เสนอกรมชลประทาน พฤษภาคม 2567 โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร และบริษัท อินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด.

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท. (2558). คู่มือขับเคลื่อนพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบทและมั่นคง.สืบค้น 5 กรกฎาคม 2567, จาก http://www.rdpb.go.th/MediaUploader/File/10319.pdf

ฉวีวรรณ เจริญผ่อง ชลาธร จูเจริญ และสุภาภรณ์ เลิศศิริ. (2565). ปัจจัยการตัดสินใจเข้าร่วมเกษตรแปลงใหญ่โกโก้ของเกษตรกรในอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. แก่นเกษตร, 50(3), 710-718.

เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ เสนาะ บุญฟู อำนวย น่วมนวล และมานัส รัตนสากล. (2565). การบริหารจัดการน้ำชุมชนภายใต้กระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ใช้น้ำคลองยม-น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร. เอกสารประกอบผลงานนวัตกรรมประชาธิปไตยเชิงคุณภาพ ปี 2565 เสนอสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. หน่วยวิจัยและพัฒนาบูรณาการเกษตร มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ. (2567). ระบบเกษตรกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิรัธกานต์ พุ่มทอง. (2562) Agri-map; การใช้แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก [เอกสารนำเสนอ]. วันที่ 24 ธันวาคม 2562, ณ โรงแรมทีเค พาเลส โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ.

ศุภวรรณ บุญรอด และพิไลวรรณ ประพฤติ. (2567). ความคาดหวังในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน จังหวัดนราธิวาส. แก่นเกษตร, 52(2), 406-417.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). https://pubhtml5.com/qrep/rwey/ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์/

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2563). เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา หลักการทรงงานการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อความเป็นเลิศและยั่งยืน. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2567, จาก http://www.rdpb.go.th/th

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). รายงานการวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญตามแผนที่ Agri-Map จังหวัดแพร่. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2567, จาก https://drive.google.com/file/d/1aQjJXwxx1fLNBSYKjyk7gtqdyldo54e5/view

สินีนาฎ จำนงค์ พัชราวดี ศรีบุญเรือง และชลาธร จูเจริญ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. เกษตรพระจอมเกล้า, 38, 408-416.

สุกัญญา อ่อนเขตร์ เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ จตุรพร รักษ์งาร และอัมรา เวียงวีระ. (2563). การศึกษาปัญหาการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรจังหวัดพิษณุโลก. ใน การประชุมระดับชาติและนานาชาติ IAMBEST ครั้งที่ 5 วันที่ 28-29 พฤษภาคม 2563. (น. 202-209). ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

Milupi, I.D., Somers, M.J. & Ferguson, W. (2017). A Review & Community–based Natural Resource Management. Applied Ecology and Environmental Research, 15(4), 1121-1143.

Wattanachaiyingcharoen, D. (2024). Agricultural System for Sustainable Development. Phitsanulok: Naresuan University Publishing House.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed, New York: Harper and Row.