ผลของถ่านชีวภาพภาพจากเปลือกทุเรียนร่วมกับปุ๋ยพืชสดต่อสมบัติของดินและการเจริญเติบโตของผักกาดหอมกรีนโอ๊ค (Lactuca sativa L. cv. Green Oak) ที่ปลูกในดินเปรี้ยวจัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนและปุ๋ยพืชสดต่อสมบัติของดิน การเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหอมกรีนโอ๊คที่ปลูกในดินเปรี้ยวจัด โดยวางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCBD จำนวน 3 ซ้ำ โดย main plot ประกอบด้วย (1) ใส่โดโลไมท์ อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ (2) ใส่ถ่านชีวภาพ อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ และ sub plot ประกอบด้วย (1) โสนอัฟริกัน อัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่ (2) ถั่วพร้า อัตรา 8 กิโลกรัม/ไร่ และ (3) ปอเทือง อัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่ พบว่า การใส่ถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนอัตรา 1000 กิโลกรัมต่อไร่ มีความแตกต่างทางสถิติ ส่งผลให้ปุ๋ยพืชสดมีน้ำหนักสดต้น น้ำหนักแห้งต้น การติดปมและประสิทธิภาพของเชื้อไรโซเบียม มีมากกว่าการปรับปรุงดินด้วยโดโลไมท์ และเมื่อไถกลบปุ๋ยพืชสดพบว่า การใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับถั่วพร้า ส่งผลให้ดินมีค่าความเป็นกรดลดลง มีปริมาณอินทรียวัตถุ และปริมาณไนโตรเจนสูงที่สุด 5.50, 4.50 และ 2.10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำผักกาดหอมกรีนโอ๊คไปปลูก พบว่า การใส่ถ่านชีวภาพ ทำให้ผักกาดหอมกรีนโอ๊คมีน้ำหนักสดและน้ำหนักต้นแห้งสูงที่สุดคือ 54.72 และ 54.72 กรัม ตามลำดับ การไถกลบพืชปุ๋ยสดจากถั่วพร้า ทำให้ผักกาดหอมกรีนโอ๊คมีจำนวนใบ น้ำหนักต้นสดและน้ำหนักต้นแห้งสูงที่สุดคือ 13.31 ใบ, 58.33 กรัม และ 4.46 กรัม ตามลำดับ การใส่ถ่านชีวภาพร่วมกับถั่วพร้าทำให้ผักกาดหอมกรีนโอ๊คมีการเจริญเติบโตและผลผลิตสูงสุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
เกศศิรินทร์ แสงมณี, จิตรยา จารุจิตร์ และ พิชย์ชัย ทองนวรัตน์. (2560). การศึกษาชนิดและอัตราส่วนของถ่านชีวภาพต่อสมบัติของดินการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของกระเจี๊ยบเขียว ที่ปลูกในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. กรุงเทพฯ.
วรรทณา สินศิริ, จักรกฤษณ์ หอมจันทร์, บรรยง ทุมแสน และเทพฤทธิ์ ตุลาพิทักษ์. (2544). การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของไรโซเบียมสายพันธุ์พื้นเมืองของถั่วฝักยาว. วารสารวิจัย มข. (บศ.), 1(1), 12 – 17.
สำนักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน. (2551). คู่มือ การจัดการอินทรียวัตถุเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน. กรมพัฒนาที่ดิน. กรุงเทพฯ.
Lehmann, J., Silva, J. P., Steiner, C., Nehls, T., Zech, W. & Glaser, B. (2003). Nutrient availability and leaching in an archaeological Anthrosol and a Ferralsol of the Central Amazon basin: fertilizer, manure and charcoal amendments. Plant and Soil, 249, 343 - 357.
Partey, S.T., Preziosi, R.F. & Robson, G.D. (2014). Short-Term Interactive Effects of Biochar, Green Manure, and Inorganic Fertilizer on Soil Properties and Agronomic Characteristics of Maize. Agricultural research, 3, 128 – 136 .
Sarioglu, A., Almaca, A., Dogan, K. & Ramazanoglu, E. (2024). Biochar and Rhizobium Applications: A Promising Synergy for Improved Soybean Growth and Rhizosphere Microbial Activities. Journal of Agricultural Sciences, 8(1), 134 – 149.
Steiner C., Teixeira, W. G., Lehmann, J., Nehls, T., Macedo, J. L. V., Bium, W. E. H. & Zech, W. (2007). Long term effect of manure, charcoal and mineral fertilization on crop production and fertility on a highly weathered Central Amazon upland soil. Plant and Soil, 291, 275 - 290.
Zang, X., Ren, J., Liu, J., Cao, T., Chi, J., Zhu, X., Li, L., Li, X. & Yang, D. 2024. Is non-legume green manure rotation or straw biochar more effective in promoting peanut production?. Applied Soil Ecology, 169.