การศึกษาเปรียบเทียบรูเหงื่อในลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวชนิดต่างๆ

Main Article Content

พิจิตรา สีสุข
ปริญญา สีลานันท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูเหงื่อในลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวชนิดต่างๆ ได้แก่ พื้นผิวมีรูพรุน พื้นผิวไม่มีรูพรุน และพื้นผิวกึ่งรูพรุน เพื่อพัฒนาแนวทางการตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือแฝงโดยใช้รูเหงื่อสำหรับการยืนยันเอกลักษณ์บุคคล เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยการเก็บตัวอย่างลายนิ้วมือแฝงจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ช่วงอายุ 20 - 40 ปี โดยทดสอบการปรากฏของรูเหงื่อบริเวณนิ้วมือในลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวแต่ละประเภท พื้นผิวแบบมีรูพรุนใช้วิธีทางเคมีด้วยนินไฮดริน (Ninhydrin) กรณีพื้นผิวแบบไม่มีรูพรุนและกึ่งรูพรุน ใช้ผงฝุ่นดำและผงฝุ่นแม่เหล็กตามอันดับ ผลการวิจัยพบว่าจำนวนรูเหงื่อที่ปรากฏบนพื้นผิวแต่ละชนิดของอาสาสมัครทั้ง 10 คน มีค่าเฉลี่ยจำนวนรูเหงื่อในพื้นผิวแบบมีรูพรุน เท่ากับ 31.23±26 พื้นผิวแบบไม่มีรูพรุน เท่ากับ 30.97±25.81 และพื้นผิวแบบกึ่งรูพรุน เท่ากับ 31±25.91 และจากการวิเคราะห์ด้วย One-Way ANOVA พบว่าค่าเฉลี่ยจำนวนรูเหงื่อที่ปรากฏนั้น ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้นสามารถนำจำนวนรูเหงื่อของบุคคลมาตรวจยืนยันตัวบุคคลร่วมกับจุดลักษณะสำคัญพิเศษได้ เพื่อใช้เป็นแนวทางการตรวจพิสูจน์รอยลายนิ้วมือแฝงบนวัตถุพยานที่มีจุดลักษณะสำคัญพิเศษไม่เพียงพอในการยืนยันบุคคลตามเกณฑ์การพิจารณาต่อไป

Article Details

บท
Research article