องค์ประกอบทางพฤกษเคมี และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดครามใหญ่ที่สกัด ด้วยแอลกอฮอล์ และน้ำ

ผู้แต่ง

  • พัตต์วราภรณ์ อุดรสรรพ์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • พรรณนิภา เจ๊กแตงพะเนาว์
  • ดารีนา ใจเสรี
  • สิริภพ เรืองศรี
  • ภานิชา พงศ์นราทร
  • รัชฎาวรรณ อรรคนิมาตย์
  • ปราณี ศรีราช

คำสำคัญ:

องค์ประกอบทางพฤกษเคมี ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดคราม น้ำคราม

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมี และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของครามใหญ่ (Indigofera suffruticosa Mill.) ที่สกัดด้วย 95%, 50% แอลกอฮอล์ และน้ำคราม โดยศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีในใบคราม ได้ทำการตรวจวัดปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม และปริมาณคลอโรฟิล สำหรับฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระทำการศึกษาด้วยวิธี DPPH assay, ABTS assay และ FRAP assay จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า สารสกัดใบครามที่สกัดด้วย 95% แอลกอฮอล์ มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม และปริมาณคลอโรฟิลมากที่สุด (30.37 ± 0.09 µg GAE/ g DW และ 0.14 ± 0.00 mg/g ตามลำดับ) เมื่อเทียบกับสารสกัดใบครามที่สกัดด้วย 50% แอลกอฮอล์ และน้ำคราม สำหรับการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay ABTS assay และ FRAP assay พบว่า สารสกัดใบครามที่สกัดด้วย 95% แอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารสกัดใบครามที่สกัดด้วย 50% แอลกอฮอล์ และน้ำคราม โดยวิธี DPPH assay และ ABTS assay มีค่า IC50 เท่ากับ 26.14 ± 0.29 µg/mL และ 19.88 ± 0.93 µg/mL ตามลำดับ และวิธี FRAP assay มีค่าการต้านอนุมูลอิสระ เท่ากับ 239.73 ± 0.17 mg FeSO4 equivalent/g extract จากการศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางพฤกษเคมีในใบคราม และวิธีทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ พบว่า การตรวจวัดปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม มีความสัมพันธ์กับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด

เผยแพร่แล้ว

23-04-2020 — Updated on 23-04-2020

Versions