องค์ประกอบทางพฤกษเคมี และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดครามใหญ่ที่สกัด ด้วยแอลกอฮอล์ และน้ำ
คำสำคัญ:
องค์ประกอบทางพฤกษเคมี ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดคราม น้ำครามบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมี และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของครามใหญ่ (Indigofera suffruticosa Mill.) ที่สกัดด้วย 95%, 50% แอลกอฮอล์ และน้ำคราม โดยศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีในใบคราม ได้ทำการตรวจวัดปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม และปริมาณคลอโรฟิล สำหรับฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระทำการศึกษาด้วยวิธี DPPH assay, ABTS assay และ FRAP assay จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า สารสกัดใบครามที่สกัดด้วย 95% แอลกอฮอล์ มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม และปริมาณคลอโรฟิลมากที่สุด (30.37 ± 0.09 µg GAE/ g DW และ 0.14 ± 0.00 mg/g ตามลำดับ) เมื่อเทียบกับสารสกัดใบครามที่สกัดด้วย 50% แอลกอฮอล์ และน้ำคราม สำหรับการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay ABTS assay และ FRAP assay พบว่า สารสกัดใบครามที่สกัดด้วย 95% แอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารสกัดใบครามที่สกัดด้วย 50% แอลกอฮอล์ และน้ำคราม โดยวิธี DPPH assay และ ABTS assay มีค่า IC50 เท่ากับ 26.14 ± 0.29 µg/mL และ 19.88 ± 0.93 µg/mL ตามลำดับ และวิธี FRAP assay มีค่าการต้านอนุมูลอิสระ เท่ากับ 239.73 ± 0.17 mg FeSO4 equivalent/g extract จากการศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางพฤกษเคมีในใบคราม และวิธีทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ พบว่า การตรวจวัดปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม มีความสัมพันธ์กับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 23-04-2020 (2)
- 23-04-2020 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น