วิธีการที่เหมาะสมสำหรับทดสอบอัตราส่วนเพศในสัตว์น้ำ : กรณีศึกษาในปูม้า
คำสำคัญ:
อัตราส่วนเพศ, ปูม้า, ขนาดอิทธิพล, การทดสอบสัดส่วน, การทดสอบทวินามบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างของประชากรปูม้าในน่านน้ำไทยโดยการใช้อัตราส่วนเพศ และ 2) เพื่อนำเสนอวิธีการทางสถิติในการทดสอบอัตราส่วนเพศของสัตว์น้ำ การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากผลงานทางวิชาการที่ผ่านการตีพิมพ์ ซึ่งใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียรายปีของฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทยมีอัตราส่วนสอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านมา ยกเว้น ชุตาภา (2549) ที่ศึกษาในบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี นอกจากนี้การทดสอบการกระจายของข้อมูลพบว่ามี 5 รายงาน ที่มีการกระจายข้อมูลเป็นแบบปกติ และมี 3 รายงาน ที่มีการกระจายข้อมูลเป็นแบบไม่ปกติ จากการทดสอบขนาดอิทธิพลแสดงให้เห็นว่าการทดสอบสัดส่วน (Proportion Test) เหมาะสมกับการทดสอบอัตราส่วนเพศที่มีการกระจายข้อมูลแบบปกติ แต่สำหรับการกระจายของข้องมูลที่ไม่ปกติวิธีการที่เหมาะสม คือ การทดสอบทวินาม (Binomial Test)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 23-04-2020 (2)
- 23-04-2020 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น