ความหลากชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ด้านการให้สีย้อมธรรมชาติ: กรณีศึกษา ป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
ความหลากชนิดของไม้ต้น, พืชย้อมสี, สีย้อมธรรมชาติ, ป่าชุมชน, จังหวัดสุรินทร์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ด้านการให้สีย้อมธรรมชาติในป่าชุมชนจังหวัดสุรินทร์ โดยวิธีการสำรวจป่าชุมชนจำนวน 5 ป่า สัมภาษณ์ชุมชนทอผ้าไหม 5 ชุมชน รวม 25 คน ผลการศึกษาพบไม้ต้นในป่าชุมชน 96 ชนิด 80 สกุล 37 วงศ์ พบว่าเป็นพืชให้สีย้อมธรรมชาติ 53 ชนิด (55.21%) วงศ์ของไม้ต้นที่พบมากที่สุดคือ FABACEAE มี 17 ชนิด ซึ่งเป็นพืชให้สีทั้งหมด ส่วนประกอบของไม้ต้นที่ให้สีมากที่สุดคือ เปลือกลำต้น (75.47%) ผล (16.95%) แก่นต้นและใบ (15.09%) ชนิดไม้ต้นที่มีส่วนประกอบใช้ย้อมสีมากที่สุดคือ ยอป่า (Morinda coreia Buch. Ham.) หว้าป่า (Syzygium cumini (L.) Skeels) ขี้เหล็กบ้าน (Senna siamea (Lam.) Irwin and Barneby) แคบ้าน (Sesbania grandiflora (L.) Pers.) และ ชงโค (Bauhinia purpurea L.) โทนสีที่ได้จากพืชมากที่สุดคือ โทนสีน้ำตาล-กากี (54.72%) รองลงมาคือ โทนสีเหลือง-ทอง (28.30%) และ โทนสีเขียว (20.75%) โดยไม้ต้นที่ให้โทนสีมากที่สุดได้แก่ มะหาด (Artocarpus lacucha Buch. Ham.) และยอป่า (M. coreia) โดยให้โทนสี 3 โทนสี ซึ่งแต่ละชนิดพันธุ์พืชอาจให้สีมากกว่า 1 สี ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการย้อม การใช้สารช่วยย้อม และการใช้สารช่วยติดสี ทั้งนี้พบว่าไม้ต้นที่มีความสำคัญและนำมาใช้ย้อมสีธรรมชาติมากที่สุด คือ มะเกลือ (Diospyros mollis Griff.) ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpusKurz) เพกา (Oroxylum indicum (L.) Kurz) สะเดา (Azadirachta indica A. Juss.) และ ยอป่า (M. coreia) มีค่า UV 0.76, 0.72, 0.60, 0.56 และ 0.48 ตามลำดับ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 29-08-2020 (2)
- 29-08-2020 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น