This is an outdated version published on 29-08-2020. Read the most recent version.

ความหลากชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ด้านการให้สีย้อมธรรมชาติ: กรณีศึกษา ป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สมชญา ศรีธรรม Department of Landscape Technology, Faculty of Agriculture and Technology, Rajamangala University of Technology Isan, Surin Campus
  • วสา วงศ์สุขแสวง
  • ประดิภา ปานสันเทียะ

คำสำคัญ:

ความหลากชนิดของไม้ต้น, พืชย้อมสี, สีย้อมธรรมชาติ, ป่าชุมชน, จังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ด้านการให้สีย้อมธรรมชาติในป่าชุมชนจังหวัดสุรินทร์ โดยวิธีการสำรวจป่าชุมชนจำนวน 5 ป่า สัมภาษณ์ชุมชนทอผ้าไหม 5 ชุมชน รวม 25 คน ผลการศึกษาพบไม้ต้นในป่าชุมชน 96 ชนิด 80 สกุล 37 วงศ์ พบว่าเป็นพืชให้สีย้อมธรรมชาติ 53 ชนิด (55.21%) วงศ์ของไม้ต้นที่พบมากที่สุดคือ FABACEAE มี 17 ชนิด ซึ่งเป็นพืชให้สีทั้งหมด ส่วนประกอบของไม้ต้นที่ให้สีมากที่สุดคือ เปลือกลำต้น (75.47%) ผล (16.95%)  แก่นต้นและใบ (15.09%) ชนิดไม้ต้นที่มีส่วนประกอบใช้ย้อมสีมากที่สุดคือ ยอป่า (Morinda coreia Buch. Ham.) หว้าป่า (Syzygium cumini (L.) Skeels) ขี้เหล็กบ้าน (Senna siamea (Lam.) Irwin and Barneby) แคบ้าน (Sesbania grandiflora (L.) Pers.) และ ชงโค (Bauhinia purpurea L.) โทนสีที่ได้จากพืชมากที่สุดคือ โทนสีน้ำตาล-กากี (54.72%) รองลงมาคือ โทนสีเหลือง-ทอง (28.30%) และ โทนสีเขียว (20.75%) โดยไม้ต้นที่ให้โทนสีมากที่สุดได้แก่ มะหาด (Artocarpus lacucha Buch. Ham.) และยอป่า (M. coreia) โดยให้โทนสี 3 โทนสี ซึ่งแต่ละชนิดพันธุ์พืชอาจให้สีมากกว่า 1 สี ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการย้อม การใช้สารช่วยย้อม และการใช้สารช่วยติดสี ทั้งนี้พบว่าไม้ต้นที่มีความสำคัญและนำมาใช้ย้อมสีธรรมชาติมากที่สุด คือ มะเกลือ (Diospyros mollis Griff.) ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpusKurz) เพกา (Oroxylum indicum (L.) Kurz) สะเดา (Azadirachta indica A. Juss.) และ ยอป่า (M. coreia) มีค่า UV 0.76, 0.72, 0.60, 0.56 และ 0.48 ตามลำดับ

เผยแพร่แล้ว

29-08-2020

Versions