ผลของการทดแทนแป้งสาลีบางส่วนด้วยผงเมล็ดกระบกต่อคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์คัพเค้ก
คำสำคัญ:
แป้งเมล็ดกระบก, การทดแทน, แป้งสาลี, เบกอรี่, คัพเค้กบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์คัพเค้กที่มีการทดแทนแป้งสาลีด้วยแป้งเมล็ดกระบก จากการคัดเลือกสูตรคัพเค้กพื้นฐาน 3 สูตร จากนั้นทำการประเมินทางด้านประสาทสัมผัสในด้าน สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม โดยใช้วิธีการ 9 Point Hedonic Scale ใช้ผู้ทดสอบชิมที่ไม่ผ่านการฝึกฝนจำนวน 30 คน พบว่าสูตรพื้นฐานทั้ง
3 สูตร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) โดยสูตรที่ 3 มีคะแนนความชอบโดยรวมสูงที่สุด (7.4) และมีค่าแรงกดสูงสุดมีค่าต่ำที่สุด (47.23 N) ดังนั้นคัพเค้กสูตรที่ 3 จึงถูกคัดเลือกไปศึกษาอัตราส่วนในการทดแทนแป้งสาลีด้วยผงเมล็ดกระบก 0, 5, 10 และ 15% (w/w) พบว่าการประเมินทางด้านประสาทสัมผัส และปริมาณน้ำอิสระ (Water Activity; aw) ของคัพเค้กทุกสูตรไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่อย่างไรก็ตามคัพเค้กที่ทดแทนแป้งสาลีจากผงเมล็ดกระบกมีค่าความสว่าง (L*) และค่าสีเหลือง (b*) สูงกว่าสูตรควบคุม (p≤0.05) นอกจากนี้คัพเค้กที่ทดแทนด้วยแป้งเมล็ดกระบกในปริมาณที่สูงขึ้นส่งผลให้มีค่าแรงกดสูงสุดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ดังนั้นเมื่อพิจารณาการทดแทนแป้งสาลีด้วยผงเมล็ดกระบก 15% (w/w) จึงเป็นสูตรที่เหมาะสมที่สุด
References
ชมดาว สิกขะมณฑล. (2561). แป้งคัพเค้กไรซ์เบอรี่สำเร็จรูป. รายงานการวิจัย. สำนักการงานวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพฯ.
ดารารัตน์ นาคละออ, อาภัสรา แสงนาค และกุลยา ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์. (2554). การปรับปรุงคุณภาพของแป้งเมล็ดขนุนโดยวิธีการพรีเจลาทิไนซ์. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 16(1): 12-21.
นรินทรา ชวฤาชัย. (2545). สารอาหารและสารต่อต้านคุณค่าทางโภชนาการในเมล็ดมะกิ้งและเมล็ดกระบก. รายงานการวิจัย. คณะเกษตรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล นครปฐม.
ปริญญา วิสารพรรุจี และพรพิณ ไพบูลย์วงศ์. (2553). การพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ cupcake เสริมแป้งถั่วเหลือง. ปริญญานิพนธ์บัณฑิตวิทยาศาสตร์ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์ (2562). Gluten / กลูเตน. (ออนไลน์). ค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2564. http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0351/gluten%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%99#google_vignette
พิศมัย ศรีชาเยช. (2547). ผลของสภาวะการผลิตและกระบวนการให้ความร้อนต่อคุณลักษณะทางกายภาพและเคมีของ
คาราเมล. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิสนันท์ ถาวรสวัสดิ์. (2562). คัพเค้กกากถั่วเหลืองเลมอน. รายงานการวิจัย. ภาควิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ.
Ashwini A., Jyotsna R. and Indrani D. (2009). Effect of hydrocolloids and emulsifiers on the rheological, microstructural and quality characteristics of eggless cake. Food Hydrocolloids. 23(1): 700-707.
Gallaghera E., Gormleya T.R. and Arendtg E.K. (2004). Recent advances in the formulation of gluten-free cereal-based products. Trends in Food Science and Technology. 15(4): 143-152.
Lifes. (2019). Maillard reaction, Browning reaction. Accessed 17 April 2021. http://elife-news.blogspot.com/2019/10/maillard-reaction-browning-reaction.html?view=timeslide.
Mau J.L., Lu T.M., Lee C.C., Lin L.Y., Cheng C.H. and Lin S.D. (2015). Physicochemical, antioxidant and sensory characteristics of chiffon cakes fortified with various tea powder. Journal of Food Processing and Preservation. 39(2): 443-450.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 08-02-2024 (3)
- 26-04-2021 (2)
- 26-04-2021 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น