ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์และ SCMR ของอ้อยพันธุ์ที่แตกต่างกันในช่วง ระยะย่างปล้อง
คำสำคัญ:
คลอโรฟิลล์ เอ, คลอโรฟิลล์ บี, อัตราการเพิ่มความสูง, จำนวนหน่อบทคัดย่อ
ปัจจุบัน ยังขาดองค์ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์กับค่า SPAD chlorophyll meter reading (SCMR) ของอ้อยพันธุ์ที่แตกต่างกันในช่วงระยะย่างปล้อง ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์กับค่า SCMR ของอ้อยพันธุ์ที่แตกต่างกัน จำนวน 22 พันธุ์ ในช่วงระยะย่างปล้อง ดำเนินการทดลอง ณ หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาในสภาพกระถาง ใช้แผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ โดยกำหนดให้พันธุ์อ้อยจำนวน 22 พันธุ์ ที่มีความแตกต่างกันทั้งชนิดและการเจริญเติบโตเป็นกรรมวิธีทดลอง เก็บข้อมูลปริมาณคลอโรฟิลล์และ SCMR เมื่ออ้อยมีอายุ 120 วันหลังปลูก และเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ได้แก่ ความสูงและจำนวนหน่อต่อกอ เมื่ออ้อยอายุ 120 และ 150 วันหลังปลูก พบว่า อ้อยพันธุ์ที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์และ SCMR ในช่วงระยะย่างปล้อง โดยพบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างค่า SCMR และ ปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมด (r = 0.70**) ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ (r = 0.69**) และปริมาณคลอโรฟิลล์ บี (r = 0.44*) อย่างไรก็ตาม ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างค่า SCMR และปริมาณคลอโรฟิลล์ บี อยู่ในระดับที่ต่ำ ดังนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ค่า SCMR ประเมินความแตกต่างของปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมด และปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ในช่วงย่างปล้องของอ้อยพันธุ์ต่าง ๆได้ อีกทั้งพบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมดและปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมดและปริมาณคลอโรฟิลล์ บี แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และปริมาณคลอโรฟิลล์ บี แม้ว่าพบความสัมพันธ์ระหว่างSCMR และอัตราการเพิ่มความสูง แต่ค่าสหสัมพันธ์มีค่าต่ำและยอมรับได้ยาก ข้อมูลจากการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการประเมินปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมดและปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์อ้อยที่มีจำนวนประชากรมาก
References
กรมวิชาการเกษตร. (2564). บุคลากรในศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น และศูนย์วิจัยพืชไร่สพรรณบุรี. (สัมภาษณ์, 26 พฤษภาคม 2564).
จิดาภา คงหินไธสง, พัชริน ส่งศรี และ นันทวุฒิ จงรั้งกลาง. (2560). รูปแบบการเจริญเติบโตและสรีรวิทยาของอ้อยต่อการจำลองความแห้งแล้งในระบบการปลูกอ้อยข้ามแล้ง. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร:วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25(2): 102-112.
นฤนาท ชัยรังสี. (2546). การศึกษาสังเคราะห์ด้วยแสงของเรือนพุ่มอ้อย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตร (ข้อมูลพื้นฐาน) ปี 2562. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2563. http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/ebook/2563/commodity2562.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2558). พันธุ์อ้อยในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม และมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
Bunphan D., Sinsiri N. and Wanna R. (2019). Application of SCMR and fluorescence for chlorophyll measurement in sugarcane. International Journal of GEOMATE. 16(56): 33-38.
da Silva P.P., Soares L., da Costa J.G., Viana L.D.S., Farias de Andrade J.C., Goncalves E.R., dos Santos J.M. and Veríssimo G. (2012). Path analysis for selection of drought tolerant sugarcane genotypes through physiological components. Industrial Crops and Products: 37: 11–19.
Islam M.S. and Begum M.K. (2012). Comparative studies of chlorophyll content, yield and juice quality of eight sugarcane varieties. Journal of agroforestry and environment. 6(1): 121-124.
Jangpromma N., Songsri P., Thammasirirak S. and Jaisil P. (2010). Rapid assessment of chlorophyll content in sugarcane using a SPAD chlorophyll meter across different water stress conditions. Asian Journal of Plant Sciences. 9(6): 368-374.
Kamat D.N. and Singh J.R.P. (2002). Path analysis in sugarcane under rainfed condition. Indian Sugar 51: 795-797.
Mall R. K., Sonkar G., Bhatt D., Sharma N.K., Baxla A.K. and Singh K.K. (2016). Managing impact of extreme weather events in sugarcane in different agro-climatic zones of Uttar Pradesh. MAUSAM. 67(1): 233-250.
Moran R. (1982). Formulae for Determination of Chlorophyllous Pigments Extracted with N,N-Dimethylformamide. Plant Physiology. 69(6): 1376-1381.
Moran R. and Porath. D. (1980). Chlorophyll Determination in Intact Tissues Using N,N-Dimethylformamide. Plant Physiology. 65(3): 478-479.
Radhamani R. and Kannan R. (2013). Nondestructive and Rapid Estimation of Leaf Chlorophyll Content of Sugarcane using a SPAD Meter. International Journal of Science and Research. 5(4): 2392-2397.
Radhamani R., Kannan R. and Rakkiyappan P. (2016). Leaf chlorophyll meter reading as an indicator for sugarcane yield under Iron deficient Typic Haplustert. Sugar Tech. 18(1): 61-66.
Rong-hua L.I., Pei-pol G.U.O., Baumz M., Grando S. and Ceccarelli S. (2006). Evaluation of chlorophyll content and fluorescence parameters as indicators of drought tolerance in barley. Agricultural Sciences in China. 10: 551-557.
Saberioon M.M., Amin M.S.M., Gholizadeh A. and Ezri M.H. (2014). A Review of Optical Methods for Assessing Nitrogen Contents During Rice Growth. Applied engineering in Agriculture. 30(4): 657-669.
Sanghera, G. S., Malhotra, P. K., Singh, H., & Bhatt, R. (2019). Climate change impact in sugarcane agriculture and mitigation strategies. In Harnessing Plant Biotechnology and Physiology to Stimulate Agricultural Growth. Accessed 14 April 2021. https://www.researchgate.net/publication/331894646_Climate_Change_Impact_in_Sugarcane_Agriculture_and_Mitigation_Strategies_Climate_Change_Impact_in_Sugarcane_Agriculture_and_Mitigation_Strategies
Silva M.D.A., Jifon J.L., de Silva J.A.G. and Sharma V. (2007). Use of physiological parameters as fast tools to screen for drought tolerance in sugarcane. Brazilian Journal of Plant Physiology. 19: 193-201.
Songsri P., Jogloy S., Holbrook C.C., Kesmala T., Vorasoot N., Akkasaeng C. and Patanothai A. (2009). Association of root, specific leaf area and SPAD chlorophyll meter reading to water use efficiency of peanut under different available soil water. Agricultural and Water Management. 96: 790-798.
Taiz L. and Zeiger E. (2006). Plant physiology. 4th ed. Sunderland, Massachusetts: Sinauer Associates, Inc.
Willows R. D. (2004). Chlorophylls. In Davies K.M. Editor. Plant Pigments and their Manipulation. Blackwell Publishing: Oxford. 23-56.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 15-02-2024 (2)
- 30-08-2021 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น