ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์และ SCMR ของอ้อยพันธุ์ที่แตกต่างกันในช่วง ระยะย่างปล้อง
คำสำคัญ:
คลอโรฟิลล์ เอ, คลอโรฟิลล์ บี, อัตราการเพิ่มความสูง, จำนวนหน่อบทคัดย่อ
ปัจจุบัน ยังขาดองค์ความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์กับค่า SPAD chlorophyll meter reading (SCMR) ของอ้อยพันธุ์ที่แตกต่างกันในช่วงระยะย่างปล้อง ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์กับค่า SCMR ของอ้อยพันธุ์ที่แตกต่างกัน จำนวน 22 พันธุ์ ในช่วงระยะย่างปล้อง ดำเนินการทดลอง ณ หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาในสภาพกระถาง ใช้แผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ โดยกำหนดให้พันธุ์อ้อยจำนวน 22 พันธุ์ ที่มีความแตกต่างกันทั้งชนิดและการเจริญเติบโตเป็นกรรมวิธีทดลอง เก็บข้อมูลปริมาณคลอโรฟิลล์และ SCMR เมื่ออ้อยมีอายุ 120 วันหลังปลูก และเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ได้แก่ ความสูงและจำนวนหน่อต่อกอ เมื่ออ้อยอายุ 120 และ 150 วันหลังปลูก พบว่า อ้อยพันธุ์ที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์และ SCMR ในช่วงระยะย่างปล้อง โดยพบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างค่า SCMR และ ปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมด (r = 0.70**) ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ (r = 0.69**) และปริมาณคลอโรฟิลล์ บี (r = 0.44*) อย่างไรก็ตาม ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างค่า SCMR และปริมาณคลอโรฟิลล์ บี อยู่ในระดับที่ต่ำ ดังนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ค่า SCMR ประเมินความแตกต่างของปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมด และปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ในช่วงย่างปล้องของอ้อยพันธุ์ต่าง ๆได้ อีกทั้งพบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมดและปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมดและปริมาณคลอโรฟิลล์ บี แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และปริมาณคลอโรฟิลล์ บี แม้ว่าพบความสัมพันธ์ระหว่างSCMR และอัตราการเพิ่มความสูง แต่ค่าสหสัมพันธ์มีค่าต่ำและยอมรับได้ยาก ข้อมูลจากการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการประเมินปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมดและปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์อ้อยที่มีจำนวนประชากรมาก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 15-02-2024 (2)
- 30-08-2021 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น