ประสิทธิภาพสารสกัดจากพืชต่อการควบคุมด้วงงวงข้าว (Sitophilus oryzae)

ผู้แต่ง

  • นพดล ขาวดำ
  • รวิชญ์ ปาประโคน
  • ชูแสง แพงวังทอง
  • กาญจนา แข่โส คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ:

ด้วงงวงข้าว, ควบคุม, สารสกัดจากพืช, พริกไทยดำ

บทคัดย่อ

ด้วงงวงข้าว (Sitophilus oryzae) เป็นแมลงศัตรูในโรงเก็บที่สำคัญ สามารถทำความเสียหายแก่ผลิตผลในโรงเก็บทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ ปัจจุบันมีการผลิตข้าวแบบอินทรีย์จึงมีการใช้สารสกัดจากพืชเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บ ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 6 ชนิด คือ พริกไทยดำ (Piper nigrum) ยาสูบ (Nicotiana tabacum) สะเดา (Azadirachta indica) ขมิ้น (Curcuma longa) ข่า (Alpinia galangal) และ
ใบมะกรูด (Citrus hystrix) ที่มีผลต่อการตายของด้วงงวงข้าว (S. oryzae) ความเข้มข้นของสารสกัดที่ใช้ เท่ากับ 1,000,000 มิลลิกรัม/ลิตร วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) 7 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ๆ ละ 10 ตัว โดยใช้ด้วงงวงข้าวในระยะตัวเต็มวัยในการทดลอง ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดหยาบจากพืชแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพควบคุมด้วงงวงข้าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.001) โดยสารสกัดจากพริกไทยดำมีประสิทธิภาพในการฆ่าด้วงงวงข้าวมากที่สุด เท่ากับ 100% รองลงมา คือ ยาสูบ และสะเดา ที่มีผลทำให้แมลงตาย 27.5% และ 20.0% ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุมที่ใช้น้ำเปล่า (p<0.001) ด้วงงวงข้าวมีเปอร์เซ็นต์การตายสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากได้รับสารสกัดพริกไทยดำทำให้แมลงมีอัตราการตายสูงที่สุด ในชั่วโมงที่ 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมงหลังการพ่นสาร เท่ากับ 72.5%, 87.5%, 97.5% และ 100% ตามลำดับ สารสกัดจากขมิ้น ข่า และใบมะกรูดทำให้เปอร์เซ็นต์การตายของแมลงไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุม จากผลการศึกษาสรุปว่า สารสกัดจากพริกไทยดำสามารถนำมาใช้ในการควบคุมศัตรูพืชที่สำคัญทางการเกษตร เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมี

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). มาตรฐานสินค้าเกษตร: ข้าวหอมมะลิไทย. 221. 1-34.

กันยารัตน์ มาแย้ม, อรพิน เกิดชูชื่น และณัฎฐา เลาหกุลจิตต์. (2556). ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 10 ชนิด ในการเป็นสารไล่ด้วงงวงข้าวโพด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 44(2): 25-28.

ณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์ และดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์. (2561). ผลของสารสกัดหยาบจากใบสาบเสือในการควบคุมแมลงวันผลไม้ Bactrocera dorsalis (Hendel) (Diptera: Tephritidae). วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 12(2): 102-109.

ณัฏฐพร อุทัยมงคล. (2559). มาตรการสุขอนามัยพืชในการส่งออกสินค้าเกษตร. รายงานการวิจัย. กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ.

นภัส ยิ้มกรุง, วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ, ปาณิสรา เทพกุศล, ไสว บูรณพานิชพันธ์ุ และเยาวลักษณ์ จันทร์บาง. (2562). พลวัตประชากรและการควบคุมมอดข้าวเปลือกในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว. วารสารเกษตร. 35(2): 295–302.

นันท์นภัส พิริยะอนนท์. (2560). ประสิทธิภาพสารสกัดพืชต่อการควบคุมมอดข้าวสาร (Sitophilus oryzae L.) ในข้าวอินทรีย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญยาพร สระทองรอด และฤชุอร วรรณะ. (2564). ความเป็นพิษของน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์กะเพราะ (Lamiaceae) ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บ. วารสารเกษตรพระวรุณ. 18(1): 112-119.

ปัณรสี สู่ศิริรัตน์. (2559). ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเปลือกว่านหางจระเข้ในการควบคุมหนอนใยผัก. วารสารเกษตร. 32(3): 369-378.

ฤชุอร วรรณะ และมงคล วงศ์สวัสด์. (2561). ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยพืชสมุนไพร 3 ชนิด ป้องกันกำจัดด้วงงวงข้าวโพด. วารสารแก่นเกษตร. 46(1): 719-724.

ศุภจิต ผ่องใส. (2551). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวสารป้องกันด้วงงวงข้าวโพดโดยการเคลือบน้ำมันหอมระเหย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว. (2558). การเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าวเปลือกแบบบรรจุกระสอบระหว่างการเก็บรักษา. ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563. http://www.phtnet.org/newsletter/?mod=download&id=40.

สํานักวิจัยและพัฒนาข้าว. (2559). การเก็บรักษา สํานักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563. http://www.brrd.in.th/rkb/postharvest/().

Hassan A. M., Ahmed A. M. and Mohammed S. A. (2018). Eco-friendly tools for controlling of the rice

weevil Sitophilus oryzea (Coleoptera: Curculionidae). Alexandria science exchange. 39(3): 482-492.

Martin O. U., Jephtha C. N., Bernard C. O. and John E. A. (2017). Toxicity of lemon grass Cymbopogon

citratus powder and methanol extract against rice weevil Sitophilus oryzae (Coleoptera:Curculionidae). Coastal Life Medicine; 5(3): 99-103.

Rajapakse, R. H. S. (2006). The potential of plants and plant products in stored insect pest management. The Journal of Agricultural Sciences, 2(1): 11-21.

Samir A. M. A., Magdy I. E. M., Mohamed S. S. and Hamdy K. A. (2016). Chemical composition, insecticidal and biochemical effects of essential oils of different plant species from Northern Egypt on the rice weevil, Sitophilus oryzae L. Pest Science. 89: 219-229.

Souza V.N.D., Carlos R.F.D.O., Claudia H.C.M. and Daiany K.F.D.A. (2016). Fumigation toxicity of essential oils against Rhyzopertha dominica (F.) in stored maize grain. Revista Caatinga. 29(2): 435-440.

Tapondjou A.L., Adler C., Fontem D.A., Bouda H. and Reichmuth C. (2005). Bioactivity of cymol and essential oil of Eucalyptus saligna and Cupressus sempervirens against Sitophilus zeamais Motschulsky and Tribolium confusum du val. Stored Products Research. 41: 91-102.

Ukeh D.A., Sylvia B.A.U., Alan S.B., Jennifer M.L.A., John A.P. and Michael A.B. (2012). Alligator pepper, Aframomum melegueta and ginger, Zingiber officinale, reduce stored maize infestation by the maize weevil, Sitophilus zeamais in traditional African granaries. Crop Protection. 32: 99-103.

Yoon C., Kang S.H., Jang S.A., Kim Y.J. and Kim G.H. (2007). Repellent efficacy of caraway and grapefruit oils for Sitophilus oryzae (Coleoptera: Curculionidae). Asia Pacific Entomology. 10: 263–267.

Zhou B.G., Wang S., Dou T.T., Liu S., Li M.Y., Hua. R.M., Li S.G. and Lin. H.F. (2016). Aphicidal activity of Illicium verum fruit extracts and their effects on the Acetylcholinesterase and Glutathione S- transferases Activities in Myzus persicae (Hemiptera: Aphididae). Insect Science. 16(1): 1–7.

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021 — Updated on 15-02-2024

Versions