This is an outdated version published on 30-08-2021. Read the most recent version.

ประสิทธิภาพสารสกัดจากพืชต่อการควบคุมด้วงงวงข้าว (Sitophilus oryzae)

ผู้แต่ง

  • นพดล ขาวดำ
  • รวิชญ์ ปาประโคน
  • ชูแสง แพงวังทอง
  • กาญจนา แข่โส คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ:

ด้วงงวงข้าว, ควบคุม, สารสกัดจากพืช, พริกไทยดำ

บทคัดย่อ

ด้วงงวงข้าว (Sitophilus oryzae) เป็นแมลงศัตรูในโรงเก็บที่สำคัญ สามารถทำความเสียหายแก่ผลิตผลในโรงเก็บทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ ปัจจุบันมีการผลิตข้าวแบบอินทรีย์จึงมีการใช้สารสกัดจากพืชเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บ ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 6 ชนิด คือ พริกไทยดำ (Piper nigrum) ยาสูบ (Nicotiana tabacum) สะเดา (Azadirachta indica) ขมิ้น (Curcuma longa) ข่า (Alpinia galangal) และ
ใบมะกรูด (Citrus hystrix) ที่มีผลต่อการตายของด้วงงวงข้าว (S. oryzae) ความเข้มข้นของสารสกัดที่ใช้ เท่ากับ 1,000,000 มิลลิกรัม/ลิตร วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) 7 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ๆ ละ 10 ตัว โดยใช้ด้วงงวงข้าวในระยะตัวเต็มวัยในการทดลอง ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดหยาบจากพืชแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพควบคุมด้วงงวงข้าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.001) โดยสารสกัดจากพริกไทยดำมีประสิทธิภาพในการฆ่าด้วงงวงข้าวมากที่สุด เท่ากับ 100% รองลงมา คือ ยาสูบ และสะเดา ที่มีผลทำให้แมลงตาย 27.5% และ 20.0% ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุมที่ใช้น้ำเปล่า (p<0.001) ด้วงงวงข้าวมีเปอร์เซ็นต์การตายสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากได้รับสารสกัดพริกไทยดำทำให้แมลงมีอัตราการตายสูงที่สุด ในชั่วโมงที่ 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมงหลังการพ่นสาร เท่ากับ 72.5%, 87.5%, 97.5% และ 100% ตามลำดับ สารสกัดจากขมิ้น ข่า และใบมะกรูดทำให้เปอร์เซ็นต์การตายของแมลงไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุม จากผลการศึกษาสรุปว่า สารสกัดจากพริกไทยดำสามารถนำมาใช้ในการควบคุมศัตรูพืชที่สำคัญทางการเกษตร เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมี

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021

Versions