สมรรถนะเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดรับรังสีอาทิตย์แบบผสม ด้วยวัสดุพรุน : กรณีศึกษาอบตะไคร้

ผู้แต่ง

  • ธนกร หอมจำปา คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • วิโรช ทัศนะ
  • ประทีป ตุ้มทอง
  • ประพันธ์พงษ์ สมศิลา

คำสำคัญ:

สมรรถนะเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์, วัสดุพรุน, ตะไคร้

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบสมรรถนะเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดรับรังสีอาทิตย์แบบผสมติดตั้งวัสดุพรุนและไม่ติดตั้งวัสดุพรุนในตัวเก็บรังสีอาทิตย์ โดยตัวเก็บรังสีอาทิตย์ที่ใช้ทดสอบเป็นชนิดแผ่นเรียบขนาด 60x120x10 cm3 วัสดุพรุนขนาด 55x30x5 cm3 ติดตั้งบนตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่นเรียบ ห้องอบแห้งขนาด 60x65x45 cm3 และใช้ตะไคร้ในการทดสอบอบแห้ง ปัจจัยที่ศึกษาคือ โลหะลวดตาข่ายที่ค่าความพรุน 0.087, 0.134 และ 0.178 ทดสอบภายใต้แสงแดดธรรมชาติที่ความเร็วลม 0.5, 1.0 และ 1.5 m/s สมรรถนะที่ศึกษาคือ ประสิทธิภาพตัวเก็บรังสีอาทิตย์ ค่าความชื้นและอัตราการอบแห้งของตะไคร้ จากผลการทดสอบพบว่า เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดรับรังสีอาทิตย์แบบผสมติดตั้งวัสดุพรุนในตัวเก็บรังสีอาทิตย์มีสมรรถนะสูงกว่าเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดรับรังสีอาทิตย์แบบผสมไม่ติดตั้งวัสดุพรุนในตัวเก็บรังสีอาทิตย์ นอกจากนี้ยังพบว่า การทดสอบเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดรับรังสีอาทิตย์แบบผสมติดตั้งวัสดุพรุน เมื่อเพิ่มค่าความพรุนทำให้สมรรถนะเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความชื้นของตะไคร้ลดลงและทำให้อัตราการอบแห้งของตะไคร้เฉลี่ยสูงขึ้น

References

ทวีศิลป์ เล็กประดิษฐ์ และบัณฑิต กฤตาคม. (2554). การศึกษาอิทธิพลของวัสดุพรุนตัวแผ่รังสีต่อการเผาไหม้ของหัวพ่นไฟชนิดวัสดุพรุนโดยใช้เชื้อเพลิงเหลว. ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 25 19-21 ตุลาคม 2554. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กระบี่.

ละมุล วิเศษ และณัฐพล ภูมิสะอาด. (2553). การอบแห้งใบตะไคร้ภายใต้อุณหภูมิและตัวกลางแตกต่างกัน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 41(3/1): 277-280.

วาณิช นิลนนท์ และสุธิดา พิทักษ์วินัย. (2561). การประเมินสมรรถนะของตัวเก็บรังสีแบบแผ่นเรียบด้วยการวิเคราะห์พลังงานและเอกเซอร์จี. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 14(3): 116-137.

สำรวย ภูบาล, สำรวย รังสิทธุ์, พิสุทธิ์ แท่นทอง, เสฎฐวุฒิ ดวงจันทร์ และปรีดา จันทวงษ์. (2555). การศึกษาตัวเก็บรังสีอาทิตย์ติดแผ่นครีบเพื่อทำอากาศร้อนในการอบแห้ง. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 8(3): 9-17.

Bashria A.A.Y. and Nor M.A. (2008). Performance analysis for flat plate collector with and without porous media. Journal of Energy in Southern Africa. 19(4): 32-42.

I.N. Simate. (2003). Optimization of mixed-mode and indirect-mode natural convection solar dryer. Renewable Energy. 28(3): 435-453.

Hana E., Hadi S.A. and Payman S. (2021). Improving the thermal efficiency of a solar dryer using phase change materials at different position in the collector. Solar Energy. 220: 535-551

Sopian K., Supranto, Daud W.R.W., Othman M.Y. and Yatim B. (1999). Thermal performance of the double-pass solar collector with and without porous media. Renewable energy. 18: 557-564

Sopian K., Supranto, Daud W.R.W., Othman M.Y. and Yatim B. (2007). Double-pass solar collectors with porous media suitable for higher-temperature solar-assisted drying systems. Journal of engineering. 133: 13-18

Omer K. A. and Zala A. M. (2017). Influence of porous media on the performance of hybrid PV/Thermal collector. Renewable energy. 112: 378-387

Messaoud S., Abdelghani B. and Djamel M. (2019). Improvement of the thermal performance of solar drying systems using different techniques: A review. Journal of solar energy engineering. 141: 050802-1 - 050802-11

Zhimin L., Hao Z., Runsheng T., Tao L., Wenfeng G. and Yue Z. (2006). Experimental investigation on solar drying of salted greengages. 31(6): 837-847.

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021 — Updated on 19-02-2024

Versions