This is an outdated version published on 30-12-2021. Read the most recent version.

การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับผลของชนิดและปริมาณตัวดูดซับต่อกระบวนการไมโครเวฟ ไพโรไลซิสของพอลิโพรพิลีน

ผู้แต่ง

  • เทียมมะณีย์ รัตนวีระพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สมภพ สนองราษฎร์
  • สิริญญา ภักดี
  • สุขุมาภรณ์ สิทธิธรรม

คำสำคัญ:

ไมโครเวฟไพโรไลซิส, ขยะพลาสติก, ตัวดูดซับคลื่นไมโครเวฟ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดและปริมาณตัวดูดซับคลื่นไมโครเวฟที่มีต่อกระบวนการไมโครเวฟไพโรไลซิสพลาสติกพอลิโพรพิลีนด้วยคลื่นไมโครเวฟ โดยชนิดตัวดูดซับคลื่นที่เลือกใช้คือถ่านกัมมันต์และแกรไฟต์ ปริมาณที่ใช้ได้แก่
ร้อยละ 2, 5 และ 10 โดยมวล ผลการทดลองพบว่าการใช้ถ่านกัมมันต์ให้ปริมาณผลิตภัณฑ์ของเหลวสูงกว่าแกรไฟต์ ปริมาณผลิตภัณฑ์ของเหลวที่ได้จากการใช้ถ่านกัมมันต์เป็นตัวดูดซับคลื่นมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 22.20-41.60 โดยมวล ซึ่งมีแนวโน้มแปรผันตรงกับปริมาณถ่านกัมมันต์ที่ใช้ ความหนาแน่นของผลิตภัณฑ์ของเหลวมีค่าอยู่ระหว่าง 0.72-0.80 กิโลกรัม/ลิตร ความหนืดมีค่าระหว่าง 5-31 เซนติสโตก ซึ่งเมื่อเทียบกับน้ำมันเบนซินในท้องตลาดพบว่าผลิตภัณฑ์ของเหลวจากการทดลองมีความหนาแน่นใกล้เคียงกับน้ำมันเบนซินในท้องตลาดแต่ความหนืดสูงกว่า พบหมู่ฟังก์ชันที่เป็นองค์ประกอบในโครงสร้างโมเลกุลของผลิตภัณฑ์ของเหลวที่ได้สอดคล้องกับน้ำมันเบนซินในท้องตลาดซึ่งประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดอิ่มตัว
ไม่อิ่มตัวและอะโรมาติกส์ อย่างไรก็ตามควรมีการวิเคราะห์ลักษณะสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น จุดวาบไฟ ค่าความร้อน และไฮโดรคาร์บอนองค์ประกอบ

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021

Versions