การอนุบาลปลาดุกอุยเทศในระบบน้ำไหลผ่าน

ผู้แต่ง

  • พิเชฐ เดชอนันต์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • กฤติมา กษมาวุฒิ
  • สำเนาว์ เสาวกูล

คำสำคัญ:

ปลาดุกลูกผสม, การอนุบาลปลา, ระบบน้ำไหลผ่าน, ความหนาแน่น

บทคัดย่อ

     การศึกษาการอนุบาลปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus x C. gariepinus)  โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การอนุบาลในระบบน้ำไหลผ่าน โดยใช้ถังพลาสติกกลมรูปวงรี ที่ระดับความหนาแน่น 500, 2,500, 5,000, 7,500 และ 10,000 ตัวต่อตารางเมตร วางแผนการทดลองแบบสุมตลอด (Completely Randomized Design; CRD) จำนวน 5 ซ้ำ ให้ไรแดงเป็นอาหารในอัตราเต็มที่ น้ำไหลผ่านที่อัตรา 30 ลิตรต่อชั่วโมง ที่อายุ 1-10 วัน และช่วงที่ 2 นำมาลูกปลาที่ได้จากการทดลองช่วงที่ 1 มารวมกันในแต่ละระดับความหนาแน่นนำไปอนุบาลต่อในกระชังในบ่อดินที่ความหนาแน่น 500 ตัวต่อตารางเมตร ชุดละ 3 ซ้ำ ให้อาหารปลาดุกเล็กที่มีโปรตีน 32 เปอร์เซ็นต์ ในอัตรา 5-10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวต่อวัน ปรับอาหารตามความเหมาะสมของปริมาณการกินของลูกปลาที่อายุ 11-30 วัน

     ผลการศึกษาพบว่า ในการทดลองในช่วงที่ 1 ปลาชุดที่ระดับความหนาแน่น 500 ตัวต่อตารางเมตร มีน้ำหนักเฉลี่ย ความยาวเฉลี่ย และการเจริญเติบโตดีที่สุด แตกต่างจากทุกชุดการทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบค่าอัตรารอดตาย พบว่า กลุ่มปลาที่ความหนาแน่น 5,000 ตัวต่อตารางเมตร มีอัตราการรอดตายดีที่สุด แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กับระดับความหนาแน่นอื่น ๆ ส่วนผลการทดลองในช่วงที่ 2 เป็นเจริญเติบโตของปลาตั้งแต่วันที่ 11 - 30 พบว่า ระดับความหนาแน่น 500 ตัวต่อตารางเมตร มีค่าน้ำหนักเฉลี่ย และอัตราเพิ่มขึ้นของน้ำหนักต่อวัน ดีที่สุดแตกต่างจากทุกชุดการทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตาม ความยาวเฉลี่ยและอัตราการรอดตายก็มีค่าสูงที่สุด แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p>0.05) กับปลาในชุดการทดลองอื่น ๆ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยในระบบน้ำไหลผ่าน สามารถเลี้ยงได้ถึง 7,500 ตัวต่อตารางเมตร ที่อายุ 1-10 วัน และเมื่อนำไปเลี้ยงต่อในบ่อดิน จนถึงอายุ 30 วัน ไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตาย

References

กรมประมง. (2562). สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560. กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพฯ.

ธีระชัย พงศ์จรรยากุล, ปราณีต งามเสน่ห์ และกาญจนา พยุหะ. (2562). รูปแบบที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาหลดด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 36(1): 33-43.

ไพบูลย์ บุญลิปตานนท์ และวรรเพ็ญ คำมี. (2558). ผลของความหนาแน่นในการอนุบาลปลากะรังเสือ Epinephelus fuscoguttatus Forsskal, 1775 ต่ออัตรารอดตายและต้นทุน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 9/2558 กองวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพฯ.

มานพ ตั้งตรงไพโรจน์, สุจินต์ หนูขวัญ, ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ และ กำชัย ลาวัณยวุฒิ. (2533). บิ๊กอุย ปลาเศรษฐกิจชนิดใหม่. สถาบันวิจัยประมงน้ำจืด กองประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพฯ.

ยศกร ประทุมวัลย์. (2564). ต้นแบบระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบปิด. ใน การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 16 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ม.ป.ท.

วิรัช จิ๋วแหยม. (2544). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณภาพน้ำและการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

วิรัช จิ๋วแหยม. (2561). หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดการคุณภาพน้ำ. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

วิมล จันทรโรทัย. (2536). การวางแผนการวิจัยด้านอาหารปลา. วารสารการประมง. 46(4): 323-330.

สำเนาว์ เสาวกูล. (2561). ปลาดุก: การเพาะเลี้ยงและบทบาทในระบบนิเวศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์รุ่งธนเกียรติออฟเซ็ท: สุรินทร์.

สำเนาว์ เสาวกูล, หทัยรัตน์ เสาวกูล, ประหยัด หวังเป็น และกิตติกร จินดาพล. (2543). ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตการเลี้ยงปลาหมอไทยในกระชัง. ใน รายงานการประชุมสัมมนาทางวิชาการสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 17 14 - 16 กรกฎาคม 2543 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, กรุงเทพฯ. 260 -269

สำเนาว์ เสาวกูล, กฤติมา เสาวกูล และปราณีต งามเสน่ห์. (2555). ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลตอบแทนการเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชัง. วารสาร มทร.อีสาน. 5(1): 14-25.

สุจินต์ หนูขวัญ, มานพ ตั้งตรงไพโรจน์, กำชัย ลาวัณยวุฒิ และ ปรัชชัย วีรสิทธิ์. (2533). การผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยและปลาดุกเทศ. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 28, 29-31 มกราคม 2533. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 553-567.

สนธิพันธ์ ผาสุขดี, ทวี วิพุทธานุมาศ และกาญจนรี พงษ์ฉวี. (2556). การพัฒนาเทคโนโลยีระบบการผลิตปลาม้าเชิงพาณิชย์, รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการพัฒนาเทคโนโลยีระบบการผลิตปลาม้าเชิงพาณิชย์. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน): กรุงเทพฯ.

สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. (2535). การศึกษาเบื้องต้นทางชีววิทยาบางประการและการทดลองผสมเทียมปลากระทิง. เอกสารวิชาการฉบับที่ 3/2535. ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดพระนครศรีอยุธยา กองประมงน้ำจืด กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สมหวัง พิมลบุตร และสนธิพันธ์ ผาสุกดี. (2537). การอนุบาลลูกปลาม้าด้วยความหนาแน่นต่างระดับ. เอกสารวิชาการฉบับที่ 49/2537. กองประมงน้ำจืด กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพฯ.

หทัยรัตน์ เสาวกูล และสำเนาว์ เสาวกูล. (2551). ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตการเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชัง. น. 394 - 402 ใน การประชุมทางวิชาการครั้งที่ 46 สาขาประมง ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2551 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อนันต์ สี่หิรัญวงศ์, ไชยวัฒน์ รัตนดาดาษ และเจริญไชย ศรีสุวรรณ. (2541). ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของการเลี้ยงปลาหมอไทยในกระชังพื้นที่ดินพรุ จังหวัดนราธิวาส. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 5/2523. สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ กองประมงน้ำจืด, กรมประมง, กรุงเทพฯ.

อาคม สิงหบุญ, ไพบูลย์ บุญลิปตานนท์ และสามารถ เดชสถิตย์. (2546). พัฒนาการคัพภะและลูกปลาวัยอ่อนของปลาเก๋าเสือ Epinephelus fuscoguttatus (Forsskal, 1775). เอกสารวิชาการฉบับที่ 28/2546. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง กระทรงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพฯ.

อุทัยรัตน์ ณ นคร. (2535). การเพาะขยายพันธุ์ปลา. ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

APHA-AWWA-WEF. (1992). Standard methods for the examination of water and wastewater, 14thed, American public health association, American water works association, Water Environment federation: Washington D.C.

Bartley D.M., Rana K. and Immink A.J. (2001). The use of inter-specific hybrids in aquaculture and fisheries. Rev. Fish Biol. Fisher. 10: 325-337.

Basiita R.K. and Rajts F. (2021). Guidelines for African catfish (Clarias gariepinus) spawning and fingerling production in the Democratic Republic of Congo. World Fish Communications and Marketing Department, CGIAR Research Program on Fish Agri-Food Systems. Guidelines: FISH-2021-01.Penang: Malaysia.

Garr AL., Lopez H., Pierce R. and Davis M. (2011). The effect of stocking density and diet on the growth and survival of cultured Florida apple snails, Pomacea paludosa. Aquaculture. 311:139-145.

Hepher, B. (1967). Some biological aspects of warm-water fish pond management. 417-428. InShellby D. Gerking (ed.) The biological basis of freshwater fish production. Blackwell Scientific Publications, Oxford and Edinburgh.

Ismi S., Sutarmat T., Giri N.A., Rimmer M.A., Knuckey R.M.J., Berding A.C. and Sugama K. (2012). Nursery Management of grouper: a best-practice manual. ACIAR Monograph No. 150. Australian Centre for International Agricultural Research, Canberra, Australian.

Mensah E.T., Attipoe F.K. and Johnson M.A. (2013). Effect of different stocking densities on growth performance and profitability of Oreochromis niloticus fry reared in hapa-in-pond system. International of Fisheries and Aquaculture. 5(8): 204-209.

Mohamed A.S., Tamador E.E. and Mohamed A.H. (2016). Effects of varying stocking densities and temperature on growth performance of Nile tilapia (Oreochromis niloticus) fingerlings cultured in semi closed system. International Journal of Advanced Science and Research. 1(11): 19-23.

Octaform. (2017). The Best Recirculating System in the World. Accessed 11 June 2017. http://web.octaform.com/blog/topic/aquaculture/page/2.

Panakulchaiwit R., Aue-umneoy D., Intarapuk N. and Taveethap B. (2011). Integrated farm between Nile tilapia culture and floating water convolvulus grown. Journal of Fisheries Technology Research. 5(1): 37-46.

Roca, C. Y. and Main K. L. (2012). Improving larval culture and rearing techniques on common snook (Centropomus undecimalis). In: Muchlisin, Z. (Ed.), Aquaculture. 187- 216.

Salari R.C., Saad R., Kamarudin M. S. and Zokaelfar H. (2012). Effect of different stocking densities on tiger grouper juvenile (Epinephelus fuscoguttatus) growth and a comparative study of the flow-through and recirculating aquaculture systems. African Journal of Agricultural Research. 7(26): 3765-3771.

Shang Y. C. (1986). Pond production systems: Stocking practices in pond fish culture. In: James, E. L., R. O. Smitherman and G. Tehobanoglous (eds.). Principle and practices of pond aquaculture. Oregon State University Press, Corvallis, Oragon: USA.

Sugama K., Tridjoko B., Slamet S., Ismi E., Setiadi E. and Kawahara S. (2001). Manual for the seed production of humpback grouper, Cromileptes altivelis. Gondol Research Institute for Mariculture Central Research Institute for Sea Exploration and Fisheries, Ministry of Marine Affairs and Fisheries, and Japanese International Cooperation Agency.

Sugama K., Rimmer M.A., Ismi S., Koesharyani I., Suwirya K., Giri N.A. and Alava V.R. (2012). Hatchery management of tiger grouper (Epinephelus fuscoguttatus): a best-practice manual. ACIAR Monograph No. 149. Australian Centre for International Agricultural Research, Canberra, Australia.

Timmons M. B., Summerfelt S.T. and Vinci B. J. (1998). Review of circular tank technology and management. Aquacultural Engineering. 18(1998): 51-69.

Viveen W.J.A.R, Richter C.J.J., van Oordt P.G.W.J., Janssen J.A.L. and Huisman E.A. (1986). Practical manual for the culture of the African catfish (Clarias gariepinus). 2nd edition. Ministry of Foreign Affairs, The Hague: Netherlands.

Yi, Y., Lin C.K. and Diana J.S. (2003). Hybrid catfish (Clarias macrocephalus x C. gariepinus) and Nile tilapia (Oreochromis niloticus) culture in an integrated pen-cum-pond system: growth performance and nutrient budgets. Aquaculture. 217: 395-408.

Yousif, O. M. (2002). The effects of stocking density, water exchange rate, feeding frequency and grading on size hatchery development in juvenile Nile tilapia, Oreochromis niloticus L. Emirates Journal of Food and Agriculture. 14: 45-53.

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021 — Updated on 16-02-2024

Versions