การอนุบาลปลาดุกอุยเทศในระบบน้ำไหลผ่าน
คำสำคัญ:
ปลาดุกลูกผสม, การอนุบาลปลา, ระบบน้ำไหลผ่าน, ความหนาแน่นบทคัดย่อ
การศึกษาการอนุบาลปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus x C. gariepinus) โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การอนุบาลในระบบน้ำไหลผ่าน โดยใช้ถังพลาสติกกลมรูปวงรี ที่ระดับความหนาแน่น 500, 2,500, 5,000, 7,500 และ 10,000 ตัวต่อตารางเมตร วางแผนการทดลองแบบสุมตลอด (Completely Randomized Design; CRD) จำนวน 5 ซ้ำ ให้ไรแดงเป็นอาหารในอัตราเต็มที่ น้ำไหลผ่านที่อัตรา 30 ลิตรต่อชั่วโมง ที่อายุ 1-10 วัน และช่วงที่ 2 นำมาลูกปลาที่ได้จากการทดลองช่วงที่ 1 มารวมกันในแต่ละระดับความหนาแน่นนำไปอนุบาลต่อในกระชังในบ่อดินที่ความหนาแน่น 500 ตัวต่อตารางเมตร ชุดละ 3 ซ้ำ ให้อาหารปลาดุกเล็กที่มีโปรตีน 32 เปอร์เซ็นต์ ในอัตรา 5-10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวต่อวัน ปรับอาหารตามความเหมาะสมของปริมาณการกินของลูกปลาที่อายุ 11-30 วัน
ผลการศึกษาพบว่า ในการทดลองในช่วงที่ 1 ปลาชุดที่ระดับความหนาแน่น 500 ตัวต่อตารางเมตร มีน้ำหนักเฉลี่ย ความยาวเฉลี่ย และการเจริญเติบโตดีที่สุด แตกต่างจากทุกชุดการทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบค่าอัตรารอดตาย พบว่า กลุ่มปลาที่ความหนาแน่น 5,000 ตัวต่อตารางเมตร มีอัตราการรอดตายดีที่สุด แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กับระดับความหนาแน่นอื่น ๆ ส่วนผลการทดลองในช่วงที่ 2 เป็นเจริญเติบโตของปลาตั้งแต่วันที่ 11 - 30 พบว่า ระดับความหนาแน่น 500 ตัวต่อตารางเมตร มีค่าน้ำหนักเฉลี่ย และอัตราเพิ่มขึ้นของน้ำหนักต่อวัน ดีที่สุดแตกต่างจากทุกชุดการทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตาม ความยาวเฉลี่ยและอัตราการรอดตายก็มีค่าสูงที่สุด แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กับปลาในชุดการทดลองอื่น ๆ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การอนุบาลปลาดุกบิ๊กอุยในระบบน้ำไหลผ่าน สามารถเลี้ยงได้ถึง 7,500 ตัวต่อตารางเมตร ที่อายุ 1-10 วัน และเมื่อนำไปเลี้ยงต่อในบ่อดิน จนถึงอายุ 30 วัน ไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตาย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 16-02-2024 (3)
- 31-12-2021 (2)
- 30-12-2021 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น