This is an outdated version published on 31-12-2021. Read the most recent version.

ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวันบริเวณห้วยหญ้าเครือ และห้วยพรมแล้ง ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • สิริกมล พลายงาม สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นิศารัตน์ ตั้งไพโรจน์วงศ์

คำสำคัญ:

ความหลากชนิด, ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ, การอนุรักษ์, อุทยานแห่งชาติ

บทคัดย่อ

     ศึกษาความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวัน ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้สวิงโฉบเก็บผีเสื้อกลางวันโดยการเดินสำรวจเป็นแนวเส้นตรง (Line-transect) ทำการเก็บตัวอย่างเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2556 บริเวณใกล้ลำธารสองสถานี ได้แก่ สถานีห้วยหญ้าเครือ และสถานีห้วยพรมแล้ง ผลการศึกษาพบผีเสื้อกลางวัน 80 ชนิด จัดจำแนกเป็น 52 สกุล 5 วงศ์ ได้แก่ วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Nymphalidae) พบจำนวนชนิดมากที่สุด คือ 43 ชนิด วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน (Lyceanidae) 20 ชนิด วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Papilionidae) 10 ชนิด วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae) 6 ชนิด และวงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Hesperiidae) พบจำนวนชนิดน้อยที่สุด คือ 1 ชนิด ตามลำดับ โดยแบ่งออกเป็นชนิดที่พบบริเวณสถานีห้วยหญ้าเครือ 57 ชนิด สถานีห้วยพรมแล้ง 48 ชนิด และพบ 25 ชนิดในทั้งสองสถานี ผลการวิเคราะห์ค่าความคล้ายคลึง (Sorensen similarity index) เท่ากับ 0.47 และสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างอุณหภูมิอากาศ และความชื้นสัมพัทธ์ กับจำนวนความหลากชนิดของผีเสื้อกลางวัน เท่ากับ 0.696 และ -0.018 ตามลำดับที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021 — Updated on 31-12-2021

Versions