การวิจัยและพัฒนาแปลงผักยกพื้นเพื่อการผลิตผักคุณภาพ
คำสำคัญ:
ผักกาดฮ้องเต้ก้านขาว, แปลงยกพื้น, การผลิตผักคุณภาพบทคัดย่อ
ารวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแปลงผักยกพื้นเพื่อการผลิตผักคุณภาพ โดยมีการออกแบบแปลงผัก ยกพื้นให้มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร มีความสูงแปลงรวม 90 เซนติเมตร ปูด้วยกระเบื้องมุงหลังคา และขึงตาข่าย ไนล่อนเพื่อรองรับดินปลูก ทดสอบการใช้งานโดยการปลูกผักกาดกวางตุ้งฮ่องเต้ก้านขาว วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (CRD) 4 สิ่งทดลอง 3 ซ้ำ คือ 1) แปลงปลูกบนดิน 2) แปลงยกพื้นกลางแจ้ง 3) แปลงยกพื้นในโรงเรือน และ 4) แปลงยกพื้นดัดแปลงจากโต๊ะปลูกไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำลึก หลังย้ายปลูกผัก 40 วัน พบว่า ผักกาดฮ่องเต้ก้านขาวที่ปลูกบนแปลง ยกพื้น มีน้ำหนักสดมากที่สุด คือ 5.82 กิโลกรัม/แปลง รองลงมา ผักกาดฮ่องเต้ก้านขาวที่ปลูกบนแปลงยกพื้นในโรงเรือน
มีน้ำหนักสด คือ 4.35 กิโลกรัม/แปลง แปลงยกพื้นดัดแปลงจากโต๊ะปลูกไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำลึก มีน้ำหนักสด คือ 3.99 กิโลกรัม/แปลง และผักกาดฮ่องเต้ก้านขาวที่ปลูกบนแปลงปลูกบนดิน มีน้ำหนักสดน้อยที่สุด คือ 2.00 กิโลกรัม/แปลง โดยมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง จากการเปรียบเทียบด้านจำนวนเงินที่ขายได้ พบว่า แปลงยกพื้นมีจำนวนเงินที่ขายได้มากที่สุด คือ 465.60 บาท/แปลง โดยมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับสิ่งทดลองอื่น และจากการศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพของผักที่ผลิตได้ พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่สุดด้านความปลอดภัยของผักต่อผู้บริโภค
References
กิตติ อินทรานนท์. (2548). กายศาสตร์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เดลินิวส์. (2558). ปลูกผักด้วยดินบนแคร่ ที่แคบที่น้อยก็ทำได้. ค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2565. https://www.dailynews.co.th/agriculture/320963.
บุญส่ง เอกพงษ์. (2563). ยกดินขึ้นโต๊ะ แล้วมาปลูกผักกัน. สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร. ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563. https://www.nstda.or.th/agritec/vegetable-table/
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2554). แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). ค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2564. https://www.moac.go.th/action_plan-files-391491791793.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2557ก). สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า. โรงพิมพ์ พระพุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2557ข). รายงานประจำปี 2557 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2564. www.oae.go.th/assets/portals/1/files/ebook/annualreport 2557.pdf.
อลงกรณ์ รัตตะเวทิน. (2560). ผลิตผักคุณภาพสูงสู่ลูกค้าไฮเอนด์ด้วยแนวคิด “ปลูกด้วยดิน-บนแคร่-ในโรงเรือน”. ค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2565. https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_34457.
อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2549). เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ.
อัญชลี นวลศรี. (2564). สังคมสูงวัยกับแรงงานภาคการเกษตรไทย. ค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2564. https://wiki.ocsc.go.th/_media/อัญชลี_นวลศรี14.pdf.
PP_Reader. (2558). จัดโต๊ะทำงานอย่างไร? ให้มีประสิทธิภาพ. ค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2565. peakeiro.blogspot.com/2015/04/blog-post_30.html.
Walker J.N. and Duncan G.N. (2020). Greenhouse benches. Department of agricultural engineering University of Kentucky, college of agriculture. Cooperative extension service agriculture. Home economics. 4h. development. AEN-13. Accessed 9 May 2020. https://www.uky.edu/bae/sites/www.uky.edu.bae/files/AEN-13.pdf.
Scribd (2021). Antropometria-arquitectnica. Accessed 9 May 2021. https://es.slideshare.net/gioveliz/ antropometria-arquitectnica.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 30-04-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น