This is an outdated version published on 30-04-2022. Read the most recent version.

การวิจัยและพัฒนาแปลงผักยกพื้นเพื่อการผลิตผักคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • ชำนาญ ขวัญสกุล -

คำสำคัญ:

ผักกาดฮ้องเต้ก้านขาว, แปลงยกพื้น, การผลิตผักคุณภาพ

บทคัดย่อ

ารวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแปลงผักยกพื้นเพื่อการผลิตผักคุณภาพ โดยมีการออกแบบแปลงผัก   ยกพื้นให้มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร มีความสูงแปลงรวม 90 เซนติเมตร ปูด้วยกระเบื้องมุงหลังคา และขึงตาข่าย       ไนล่อนเพื่อรองรับดินปลูก ทดสอบการใช้งานโดยการปลูกผักกาดกวางตุ้งฮ่องเต้ก้านขาว วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (CRD) 4 สิ่งทดลอง 3 ซ้ำ คือ 1) แปลงปลูกบนดิน 2) แปลงยกพื้นกลางแจ้ง 3) แปลงยกพื้นในโรงเรือน และ 4) แปลงยกพื้นดัดแปลงจากโต๊ะปลูกไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำลึก หลังย้ายปลูกผัก 40 วัน พบว่า ผักกาดฮ่องเต้ก้านขาวที่ปลูกบนแปลง   ยกพื้น มีน้ำหนักสดมากที่สุด คือ 5.82 กิโลกรัม/แปลง รองลงมา ผักกาดฮ่องเต้ก้านขาวที่ปลูกบนแปลงยกพื้นในโรงเรือน
มีน้ำหนักสด คือ 4.35 กิโลกรัม/แปลง แปลงยกพื้นดัดแปลงจากโต๊ะปลูกไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำลึก มีน้ำหนักสด คือ 3.99 กิโลกรัม/แปลง และผักกาดฮ่องเต้ก้านขาวที่ปลูกบนแปลงปลูกบนดิน มีน้ำหนักสดน้อยที่สุด คือ 2.00 กิโลกรัม/แปลง โดยมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง จากการเปรียบเทียบด้านจำนวนเงินที่ขายได้ พบว่า แปลงยกพื้นมีจำนวนเงินที่ขายได้มากที่สุด คือ 465.60 บาท/แปลง โดยมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับสิ่งทดลองอื่น และจากการศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพของผักที่ผลิตได้ พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่สุดด้านความปลอดภัยของผักต่อผู้บริโภค

เผยแพร่แล้ว

30-04-2022

Versions