การเปรียบเทียบปริมาณน้ำมันหอมระเหยจากใบมะกรูดสดและแห้ง จากการกลั่นน้ำมันหอมระเหยด้วยเครื่องกลั่น ขนาด 30 ลิตร

ผู้แต่ง

  • นำพน พิพัฒน์ไพบูลย์ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร สกลนคร
  • ทนงศักดิ์ มายอด คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร สกลนคร
  • ปองพล หนูพันธ์ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร สกลนคร
  • ณรงค์ หูชัยภูมิ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร สกลนคร
  • มงคล มีแสง คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร สกลนคร
  • สุรเชษฐ์ สีชำนาญ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร สกลนคร

คำสำคัญ:

การกลั่น, น้ำมันหอมระเหย, ใบมะกรูด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการทดลองเปรียบเทียบปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้จากใบมะกรูดสดและแห้ง โดยการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากเครื่องกลั่น 30 ลิตร โดยใช้วัตถุดิบใบมะกรูดจากพื้นที่ปลูก อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร วิธีการศึกษาโดยการเตรียมวัตถุดิบได้แก่ ใบมะกรูดสดเต็มใบ ใบมะกรูดสดฉีกและใบมะกรูดแห้ง มาทำการกลั่นน้ำมันหอมระเหยเปรียบเทียบปริมาณน้ำมันหอมระเหย โดยทำการกลั่นใบมะกรูดสดเต็มใบและใบมะกรูดสดฉีกจำนวน 3 กิโลกรัม/รอบ และใบมะกรูดแห้ง จำนวน 1 กิโลกรัม/รอบ โดยเครื่องกลั่นเติมน้ำ 10 ลิตร ต้มให้ความร้อนด้วยเตาแก๊ส เคบี5 ทำการกลั่นต่อเนื่อง เป็นเวลา 2 ชั่วโมง อุณหภูมิไอขณะทำการกลั่น 100 องศาเซลเซียส อุณหภูมิน้ำควบแน่น 10-15 องศาเซลเซียส ควบคุมไว้ตลอดระยะเวลาในการกลั่นน้ำมันหอมระเหย ทำการทดลองซ้ำในแต่ละตัวอย่าง 3 การทดลอง รวมทั้งหมด 9 การทดลอง เพื่อเก็บบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการกลั่นจากวัตถุดิบที่แตกต่างกัน และนำเสนอข้อมูลการทดลองในรูปแบบ ร้อยละของน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้จากวัตถุดิบที่แตกต่างกัน จากผลการทดลองพบว่าปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้จาก ใบมะกรูดสดเต็มใบจะได้ค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำมันอยู่ที่ 28.16 มิลลิลิตร รองลงมาคือใบมะกรูดสดฉีกจะได้ปริมาณน้ำมันที่ใกล้เคียงกับใบมะกรูดสดเต็มใบ ปริมาณน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 23.83 มิลลิลิตร และใบมะกรูดแห้งจะได้ปริมาณน้ำมันที่น้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำมันอยู่ที่ 5.46 มิลลิลิตร เมื่อพิจารณาร้อยละของน้ำมันหอมระเหยเพื่อเปรียบเทียบแล้วพบว่า ใบมะกรูดสดเต็มใบมีน้ำมันหอมระเหยคิดเป็น 2.56 %voil/wdry และ 2.18 %woil/wdry รองลงมาคือใบมะกรูดสดฉีก มีร้อยละของน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้คิดเป็น 2.20 %voil/wdry และ 1.94 %woil/wdry สุดท้ายใบมะกรูดแห้งได้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยน้อยที่สุดคือ 0.49 %voil/wdry และ 0.41 %woil/wdry เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าเมื่อนำใบมะกรูดสดเต็มใบมาฉีกและนำมากลั่นจะทำให้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยลดลงถึง 15.28% และเมื่อนำใบมะกรูดสดไปตากแห้งก่อนค่อยนำมาทำการกลั่นแยกน้ำมันหอมระเหยพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบมะกรูดแห้งลดลงสูงถึง 75.98%

References

กัญจน์ญาดา นิลวาศ และพัชรี ดวงจันทร์. (2549). การศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์สุขภาพจากน้ำมันหอมระเหยพืชตระกูลส้ม. รายงานผลการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นครนายก.

จักรพันธ์ จุลศรีไกวัล, สรินยา ขัดชุมแสง, เอื้อพร ไชยวรรณ และสุวรรณา เวชอภิกุล. (2551). ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยเพื่อสุขภาพจากมะกรูดและส้มโอและการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 3(2): 203-213.

พงษ์ศักดิ์ พลเสนา. (2555). การทดลองกลั่นน้ำมันหอมระเหยพืชสมุนไพร 10 ชนิด ด้วยเครื่องกลั่นแก้วมาตรฐาน และเครื่องกลั่นระดับชุมชน. งานสวนพฤกษศาสตร์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉะเชิงเทรา.

นำพน พิพัฒน์ไพบูลย์, สุริยา โชคเพิ่มพูน, ศรายุทธ พลสีลา, มงคล มีแสง และสัณหวัจน์ ทองแดง. (2563). การศึกษาปริมาณน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดในระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการกลั่นซ้ำ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 7(1):

-120.

นำพน พิพัฒน์ไพบูลย์, สัณหวัจน์ ทองแดง, สุรเชษฐ์ สีชำนาญ, มงคล มีแสง และรัชฎาวรรณ อรรคนิมาตร. (2564). การกลั่นน้ำมันหอมระเหยว่านสาวหลงด้วยเครื่องกลั่นขนาด 500 ลิตร. ใน การประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35 วันที่ 20-22 กรกฎาคม 2564. นครปฐม. 291-298.

Arslan A., Anjum M., Abdul G. and Jorge L.A. (2017). Development of hybrid solar distillation system for essential oil extraction. Renewable Energy 113: 22-29.

Hsing Y.Y. and Ya C.L. (2017). Green extraction of Cymbopogon citrus essential oil by solar energy. Industrial Crops and Products 108: 716–721.

Kusuma H.S.and Mahfud M. (2018). Kinetic studies on extraction of essential oil from sandalwood (Santalum album) by microwave air-hydrodistillation method. Alexandria Engineering Journal 57: 1163–1172.

Mazlin M., Mohamad I.H.I., Nor S.L.Z.A. and Nur A.K. (2021). Review on extraction methods of essential oil from kaffir lime (Citrus hystrix) leaves. Journal of Academia. 9(1): 173–184.

เผยแพร่แล้ว

30-04-2022 — Updated on 19-02-2024

Versions