การเปรียบเทียบปริมาณน้ำมันหอมระเหยจากใบมะกรูดสดและแห้ง จากการกลั่นน้ำมันหอมระเหยด้วยเครื่องกลั่น ขนาด 30 ลิตร
คำสำคัญ:
การกลั่น, น้ำมันหอมระเหย, ใบมะกรูดบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการทดลองเปรียบเทียบปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้จากใบมะกรูดสดและแห้ง โดยการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากเครื่องกลั่น 30 ลิตร โดยใช้วัตถุดิบใบมะกรูดจากพื้นที่ปลูก อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร วิธีการศึกษาโดยการเตรียมวัตถุดิบได้แก่ ใบมะกรูดสดเต็มใบ ใบมะกรูดสดฉีกและใบมะกรูดแห้ง มาทำการกลั่นน้ำมันหอมระเหยเปรียบเทียบปริมาณน้ำมันหอมระเหย โดยทำการกลั่นใบมะกรูดสดเต็มใบและใบมะกรูดสดฉีกจำนวน 3 กิโลกรัม/รอบ และใบมะกรูดแห้ง จำนวน 1 กิโลกรัม/รอบ โดยเครื่องกลั่นเติมน้ำ 10 ลิตร ต้มให้ความร้อนด้วยเตาแก๊ส เคบี5 ทำการกลั่นต่อเนื่อง เป็นเวลา 2 ชั่วโมง อุณหภูมิไอขณะทำการกลั่น 100 องศาเซลเซียส อุณหภูมิน้ำควบแน่น 10-15 องศาเซลเซียส ควบคุมไว้ตลอดระยะเวลาในการกลั่นน้ำมันหอมระเหย ทำการทดลองซ้ำในแต่ละตัวอย่าง 3 การทดลอง รวมทั้งหมด 9 การทดลอง เพื่อเก็บบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการกลั่นจากวัตถุดิบที่แตกต่างกัน และนำเสนอข้อมูลการทดลองในรูปแบบ ร้อยละของน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้จากวัตถุดิบที่แตกต่างกัน จากผลการทดลองพบว่าปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้จาก ใบมะกรูดสดเต็มใบจะได้ค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำมันอยู่ที่ 28.16 มิลลิลิตร รองลงมาคือใบมะกรูดสดฉีกจะได้ปริมาณน้ำมันที่ใกล้เคียงกับใบมะกรูดสดเต็มใบ ปริมาณน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 23.83 มิลลิลิตร และใบมะกรูดแห้งจะได้ปริมาณน้ำมันที่น้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำมันอยู่ที่ 5.46 มิลลิลิตร เมื่อพิจารณาร้อยละของน้ำมันหอมระเหยเพื่อเปรียบเทียบแล้วพบว่า ใบมะกรูดสดเต็มใบมีน้ำมันหอมระเหยคิดเป็น 2.56 %voil/wdry และ 2.18 %woil/wdry รองลงมาคือใบมะกรูดสดฉีก มีร้อยละของน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้คิดเป็น 2.20 %voil/wdry และ 1.94 %woil/wdry สุดท้ายใบมะกรูดแห้งได้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยน้อยที่สุดคือ 0.49 %voil/wdry และ 0.41 %woil/wdry เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าเมื่อนำใบมะกรูดสดเต็มใบมาฉีกและนำมากลั่นจะทำให้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยลดลงถึง 15.28% และเมื่อนำใบมะกรูดสดไปตากแห้งก่อนค่อยนำมาทำการกลั่นแยกน้ำมันหอมระเหยพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบมะกรูดแห้งลดลงสูงถึง 75.98%
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 30-04-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น