This is an outdated version published on 30-04-2022. Read the most recent version.

การใช้มันเทศในสูตรอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต และคุณภาพไข่ของไก่ไข่

ผู้แต่ง

  • ทรงยศ กิตติชนม์ธวัช
  • พีรกูร อนุชานุรักษ์
  • สุชาติ พอกสนิท
  • เดชาธร ยินดี
  • ฐิติมา นรโภค
  • เมธา วรรณพัฒน์
  • ทิวากร อำพาพล -

คำสำคัญ:

มันเทศ , สมรรถภาพการผลิต, คุณภาพไข่ , ไก่ไข่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้มันเทศในสูตรอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตไข่และคุณภาพไข่ของไก่ไข่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely randomized design; CRD) ประกอบด้วยอาหาร 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการทดลอง 1 อาหารที่ไม่ใช้มันเทศในสูตรอาหาร กลุ่มการทดลอง 2 อาหารที่ใช้มันเทศในสูตรอาหาร ระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มการทดลอง 3 อาหารที่ใช้มันเทศในสูตรอาหาร ระดับ 20 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มการทดลอง 4 อาหารที่ใช้มันเทศในสูตรอาหาร ระดับ 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ละกลุ่มการทดลอง มี 4 ซ้ำ ซ้ำละ 8 ตัว ใช้ไก่ไข่อายุ 61 สัปดาห์ จำนวน 128 ตัว โดยได้รับอาหารวันละ 130 กรัม/ตัว/วัน และให้น้ำแบบเต็มที่ ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 63 วัน ผลการทดลองพบว่า การใช้มันเทศในสูตรอาหาร 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เปอร์เซ็นต์ไข่ลดลง (p<0.05) ในขณะเดียวกันระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ไม่ส่งผลต่อผลผลิตไข่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้การใช้มันเทศในสูตรอาหารทุกระดับไม่ส่งผลต่อปริมาณการกิน ในส่วนของน้ำหนักไข่เฉลี่ย น้ำหนักไข่ขาว ไข่แดง น้ำหนักและความหนาเปลือกไข่ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) อย่างไรก็ตามระดับ 30 เปอร์เซ็นต์ ให้ค่าสีเหลืองของไข่แดงลดลงแต่ไม่ส่งผลต่อกลุ่มควบคุม กลุ่มมันเทศ 10 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกันอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนัก (FCR) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติของไก่ที่ได้รับอาหารทั้ง 4 กลุ่มทดลอง ค่า Hen-day (HD) มีค่าลดลงในกลุ่มไก่ไข่ที่ได้รับอาหารสูตรใช้มันเทศที่ระดับ 20 และ30 เปอร์เซ็นต์ (p<0.05) แต่ไม่ส่งผลต่อกลุ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มควบคุม ดังนั้นการใช้มันเทศในสูตรอาหารไก่ไข่ในระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกินได้ และสามารถปรับปรุงผลผลิตไข่และคุณภาพไข่

เผยแพร่แล้ว

30-04-2022

Versions