การศึกษาพรรณไม้ดอกหอมเพื่อใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม
คำสำคัญ:
พรรณไม้ดอกหอม, ภูมิสถาปัตยกรรม, การจัดภูมิทัศน์, ไม้ดอกไม้ประดับบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดพันธุ์ของพรรณไม้ดอกหอมในพื้นที่สวนไม้หอม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และศึกษาการนำพรรณไม้ดอกหอมไปใช้ประโยชน์ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ผลการศึกษาพบพรรณไม้ดอกหอม 60 ชนิด 51 สกุล 29 วงศ์ แบ่งเป็นไม้ต้น 24 ชนิด (ร้อยละ 40) ไม้พุ่ม 18 ชนิด (ร้อยละ 30) ไม้พุ่มรอเลื้อย 11 ชนิด (ร้อยละ 18) และ ไม้เลื้อย 7 ชนิด (ร้อยละ 12) วงศ์ที่พบมากที่สุดคือ Annonaceae และ Apocynaceae พบวงศ์ละ 9 ชนิด พบพรรณไม้ดอกหอมโทนสีขาวมากที่สุด (ร้อยละ 58) ส่วนใหญ่ออกดอกตลอดปี (ร้อยละ 57) และมีกลิ่นหอมอ่อน (ร้อยละ 57) พบดอกบานระยะ 2-3 วัน มากที่สุด (ร้อยละ 32) พรรณไม้ดอกหอมทุกชนิดมีประโยชน์ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ดังนี้ ไม้ต้นใช้ประโยชน์เป็นไม้ให้ร่มเงา เช่น กระทิง (Calophyllum inophyllum) กันเกรา (Fagraea fragrans) และพิกุล (Mimusops elengi) ไม้พุ่มใช้ประโยชน์เป็นไม้ปิดกั้น กรอง และลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น เข็มพวงขาว (Ixora finlaysoniana) พุดซ้อน (Gardenia jasminoides) และยี่โถ (Nerium oleander) ไม้เลื้อยใช้ประโยชน์เป็นซุ้มไม้เลื้อยและรั้วไม้เลื้อย เช่น พวงชมพู (Antigonon leptopus) ม่วงมณีรัตน์ (Bignonia magnifica) และเล็บมือนาง (Combretum indicum) การเลือกพรรณไม้ดอกหอมไปใช้ประโยชน์ในงานภูมิสถาปัตยกรรมต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของพันธุ์ไม้ ลักษณะทางกายภาพ สีและความหอมของดอก โดยเลือกระดับของความหอมที่เหมาะสมกับระยะใกล้ไกลและระยะเวลาของการใช้พื้นที่ ช่วงเวลาการบานของดอก จะช่วยสร้างบรรยากาศของสวนให้หอมสดชื่น ดึงดูดผู้คน และนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น เช่น สมุนไพร อาหาร วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ
References
คณะเภสัชศาสตร์. (ม.ป.ป.). ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563. http://www.phargarden.com/main.php.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ. (2560). คู่มือการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนพุทธศักราช 2560. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.): กรุงเทพฯ.
จิรายุพิน จันประสงค์ และวชิรพงศ์ หวลบุตตา. (2548). ไม้ต้นประดับ. โรงพิมพ์อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน): กรุงเทพฯ.
เต็ม สมิตินันท์. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. สำนักงานหอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช: กรุงเทพฯ.
นงลักษณ์ คงรักษ์. (2551). การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรณีศึกษา: สำรวจและรวบรวมพรรณไม้หอมและไม้หอมหายาก จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา: สงขลา.
บ้านและสวน. (2563). 18 ไม้ดอกหอมที่ควรปลูกในบ้าน. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2565. https://www.baania.com/article/ต้นไม้หอม-5f757cb14f6a3aca6d956609
บ้านและสวน. (2565). 20 ไม้ดอกหอมที่ควรมีในสวน. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2565. https://www.baanlaesuan.com/109242/plant-scoop/fragrant_plants
ปิยะ เฉลิมกลิ่น. (2550). ไม้ดอกหอม. ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม.บ้านและสวน: กรุงเทพฯ.
พัชราภรณ์ แสงโยจารย์ และวสา วงศ์สุขแสวง. (2556). การจัดสวนและการรวบรวมพันธุ์ไม้หอมหายาก. รายงานผลการดำเนินงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์: สุรินทร์.
พัชราภรณ์ แสงโยจารย์. (2560). ลักษณะเด่นประจำวงศ์ไม้ดอกหอม ในสวนไม้หอม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์. ใน การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ นวัตกรรมและเทคโนโลยีวิชาการ 2017. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์: สุรินทร์. A-451-A459.
มุกดา สุขสวัสดิ์, ณิชา ประสงค์จันทร์, สุพัตรา เพ็งเกลี้ยง และพณิตา คชกูล. (2553). ความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณไม้ดอกหอมในเขตอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงลา. วารสารวิจัยพืชเขตร้อน. 3(1): 51-58.
มูฮำหมัดตายุดิน บาฮะคีรี, พาตีเมาะ อาแยกาจ, ซูไบดี โตะโมะ และนัสรี มะแน. (2561). รายงานวิจัยความหลากหลายของพรรณไม้หอมในพื้นที่หุบเขาลำพญาตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา: ยะลา.
วงจันทร์ วงศ์แก้ว. (2540). ความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณไม้ดอกหอมในวัฒนธรรมไทย. การสัมมนาวิชาการเรื่องวัฒนธรรมกับความหลากหลายทางชีวภาพ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.
วสา วงศ์สุขแสวง. (2564). พัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ในบริเวณสวนไม้หอมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืน. รายงานผลการดำเนินงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์: สุรินทร์.
เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2552). ร้อยพรรณไม้เลื้อยแสนสวย. สำนักพิมพ์เศรษฐศิลป์: กรุงเทพฯ.
สมจิต โยธะคง. (2540). วัสดุพืชพรรณในการจัดภูมิทัศน์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช: นนทบุรี.
สมชญา ศรีธรรม และวสา วงศ์สุขแสวง. (2563). การศึกษาพรรณไม้ท้องถิ่นเพื่อใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม กรณีศึกษา: ไม้พุ่มและไม้คลุมดินในป่าจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 11(1): 163-180.
สมชญา ศรีธรรม, บรรณวิชญ์ ศิริโชติ และยสินทร จงเทพ. (2564). ความหลากชนิดของพืชระดับกลางและพืชระดับล่างในป่าชุมชนกับการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นของชุมชนชาวไทยเขมร จังหวัดสุรินทร์. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี. 2(2): 61-75.
องค์การสวนพฤกษศาสตร์. (2556). ฐานข้อมูลพรรณไม้ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2564. http://www.qsbg.org/database/plantdb/mdp/index.asp
เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. โรงพิมพ์ เอ็ช เอ็น กรุ๊ป จำกัด: กรุงเทพฯ.
เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. (2547). ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. โรงพิมพ์ เอช เอ็น กรุ๊ป: กรุงเทพฯ.
เอื้อมพร วีสมหมาย, ศศิยา ศิริพานิช, อลิศรา มีนะกนิษฐ และ ณัฏฐ พิชกรรม. (2556). พรรณไม้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม 1. พิมพ์ครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 30-04-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น