การศึกษาพรรณไม้ดอกหอมเพื่อใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม
คำสำคัญ:
พรรณไม้ดอกหอม, ภูมิสถาปัตยกรรม, การจัดภูมิทัศน์, ไม้ดอกไม้ประดับบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดพันธุ์ของพรรณไม้ดอกหอมในพื้นที่สวนไม้หอม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และศึกษาการนำพรรณไม้ดอกหอมไปใช้ประโยชน์ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ผลการศึกษาพบพรรณไม้ดอกหอม 60 ชนิด 51 สกุล 29 วงศ์ แบ่งเป็นไม้ต้น 24 ชนิด (ร้อยละ 40) ไม้พุ่ม 18 ชนิด (ร้อยละ 30) ไม้พุ่มรอเลื้อย 11 ชนิด (ร้อยละ 18) และ ไม้เลื้อย 7 ชนิด (ร้อยละ 12) วงศ์ที่พบมากที่สุดคือ Annonaceae และ Apocynaceae พบวงศ์ละ 9 ชนิด พบพรรณไม้ดอกหอมโทนสีขาวมากที่สุด (ร้อยละ 58) ส่วนใหญ่ออกดอกตลอดปี (ร้อยละ 57) และมีกลิ่นหอมอ่อน (ร้อยละ 57) พบดอกบานระยะ 2-3 วัน มากที่สุด (ร้อยละ 32) พรรณไม้ดอกหอมทุกชนิดมีประโยชน์ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ดังนี้ ไม้ต้นใช้ประโยชน์เป็นไม้ให้ร่มเงา เช่น กระทิง (Calophyllum inophyllum) กันเกรา (Fagraea fragrans) และพิกุล (Mimusops elengi) ไม้พุ่มใช้ประโยชน์เป็นไม้ปิดกั้น กรอง และลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น เข็มพวงขาว (Ixora finlaysoniana) พุดซ้อน (Gardenia jasminoides) และยี่โถ (Nerium oleander) ไม้เลื้อยใช้ประโยชน์เป็นซุ้มไม้เลื้อยและรั้วไม้เลื้อย เช่น พวงชมพู (Antigonon leptopus) ม่วงมณีรัตน์ (Bignonia magnifica) และเล็บมือนาง (Combretum indicum) การเลือกพรรณไม้ดอกหอมไปใช้ประโยชน์ในงานภูมิสถาปัตยกรรมต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของพันธุ์ไม้ ลักษณะทางกายภาพ สีและความหอมของดอก โดยเลือกระดับของความหอมที่เหมาะสมกับระยะใกล้ไกลและระยะเวลาของการใช้พื้นที่ ช่วงเวลาการบานของดอก จะช่วยสร้างบรรยากาศของสวนให้หอมสดชื่น ดึงดูดผู้คน และนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น เช่น สมุนไพร อาหาร วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 30-04-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น