This is an outdated version published on 30-08-2022. Read the most recent version.

การศึกษาการเจริญเติบโต การดูดซับ และการสะสมโลหะหนักของทานตะวัน (Helianthus annuus L.) ที่ปลูกด้วยสารละลายที่มีแคดเมียมและสังกะสีร่วมกัน

The studied of growth, absorption and accumulation of heavy metals by sunflower (Helianthus annuus L.) grown on Cd-Zn co-contaminated solution

ผู้แต่ง

  • ปิยาภรณ์ วรานุสันติกูล
  • เจษฎา แพนาค
  • โชติวุฒิ เก้ายอดสิงห์

คำสำคัญ:

การเจริญเติบโต, การดูดซับ , แคดเมียม , สังกะสี , ทานตะวัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโต และการสะสมโลหะหนักของทานตะวันที่ปลูกด้วยสารละลายที่มีแคดเมียมและสังกะสีร่วมกัน โดยปลูกทานตะวันด้วยสารละลายแร่ธาตุซึ่งเติมแคดเมียมหรือสังกะสีที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ เพื่อศึกษาผลกระทบของโลหะหนักต่อการเจริญเติบโตและเลือกระดับความเข้มข้นโลหะหนักที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตไปทดลองต่อไป ทานตะวันเติบโตได้ดีเมื่อปลูกด้วยสารละลายที่มีแคดเมียมระดับความเข้มข้นไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และสังกะสีระดับความเข้มข้นไม่เกิน 1.25 มิลิลกรัมต่อลิตร จากนั้นทำการทดลองการปลูกทานตะวันในสารละลายแร่ธาตุซึ่งเติมแคดเมียมที่ระดับความเข้มข้น 0, 0.1, 0.3 และ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่ละระดับความเข้มข้นของแคดเมียมจะเติมสังกะสีร่วมด้วยที่ระดับความเข้มข้น 0, 0.2, 0.6 และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 15 วัน จากนั้นนำพืชไปวิเคราะห์การเจริญเติบโตและปริมาณโลหะหนัก ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสังกะสีซึ่งเป็นธาตุอาหารรองจะยับยั้งการเติบโตของพืชและก่อให้เกิดความเป็นพิษเมื่อพืชได้รับในปริมาณที่สูงเกินไป สังกะสีในปริมาณที่เหมาะสมสามารถส่งเสริมการเติบโตของพืชในสภาวะที่มีแคดเมียมร่วมด้วยได้ การสะสมแคดเมียมในส่วนลำต้นที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้ปริมาณสังกะสีในลำต้นลดลง แคดเมียมอาจส่งผลต่อการดูดซึมสังกะสีและรบกวนกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชที่สังกะสีมีส่วนเกี่ยวข้อง ในการศึกษานี้ยังพบว่าทานตะวันมีความสามารถในการลำเลียงและสะสมโลหะหนักแคดเมียมในส่วนลำต้นได้มากกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มวลแห้ง จัดเป็นพืชที่สามารถดูดซับแคดเมียมได้ในปริมาณสูง

เผยแพร่แล้ว

30-08-2022

Versions