การวิเคราะห์ปริมาณสารซาโปนินและประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราของเท้ายายม่อม
Analysis of saponin content and antifungal activity of East Indian Arrowroot
คำสำคัญ:
ต้านเชื้อรา , เท้ายายม่อม , ซาโปนินบทคัดย่อ
เท้ายายม่อมเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวใต้ดินสำหรับสะสมอาหาร ประเทศไทยนิยมใช้หัวของเท้ายายม่อมในการทำแป้งสำหรับประกอบอาหารโดยเฉพาะอาหารหวาน ในขณะที่ส่วนใบ ลำต้น และส่วนอื่น ๆ ไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งจากการสกัดตัวอย่างใบ ลำต้น และผลของเท้ายายม่อมด้วยตัวทำละลายเอทานอล พบว่าส่วนของผลให้ปริมาณสารสกัดหยาบมากที่สุด รองลงมาคือ ใบ และลำต้น ซึ่งเมื่อนำสารสกัดหยาบมาแยกและทดสอบชนิดของสารซาโปนินด้วยวิธี Liebermann-Burchard Test และวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันของสารสกัดด้วยเทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรสโคปี พบว่าสารสกัดประกอบด้วย
สารซาโปนินประเภทไตรเทอร์ปีนอยด์ โดยใบจะมีปริมาณสารซาโปนินมากที่สุด (23.44 ไมโครกรัมต่อกรัมตัวอย่างแห้ง) รองลงมาคือ ผล (19.73 ไมโครกรัมต่อกรัมตัวอย่างแห้ง) และลำต้นของเท้ายายม่อม (7.79 ไมโครกรัมต่อกรัมตัวอย่างแห้ง) และเมื่อนำสารสกัดดังกล่าวไปทดสอบประสิทธิภาพการต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ซึ่งเป็นเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคในผัก ผลไม้ พบว่าสารสกัดซาโปนินสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ โดยประสิทธิภาพของการยับยั้งจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารสกัด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 30-08-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น