การเพาะเลี้ยงและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่มีต่อคุณภาพด้านจุลินทรีย์ของ สาหร่ายพวงองุ่นในพื้นที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • วนารี นิ่มปี สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศริศักดิ์ สุนทรไชย สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วศินา จันทรศิริ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

สาหร่ายพวงองุ่น, การเพาะเลี้ยง, การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว, คุณภาพด้านจุลินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น (2) ศึกษาระบบการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวสาหร่ายพวงองุ่น (3) ตรวจวิเคราะห์คุณภาพด้านจุลินทรีย์ของสาหร่ายพวงองุ่น และ (4) หาความสัมพันธ์ระหว่างการเพาะเลี้ยง และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวกับคุณภาพทางด้านจุลินทรีย์ในสาหร่ายพวงองุ่น ในพื้นที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาคือ ฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นในพื้นที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย ฟาร์มมาตรฐานจีเอพี ฟาร์มมาตรฐานจีเอพีและเกษตรอินทรีย์ ฟาร์มทั่วไปที่เพาะเลี้ยงสาหร่ายอย่างเดียว และฟาร์มทั่วไปที่เพาะเลี้ยงสาหร่ายและสัตว์น้ำ เครื่องมือที่ใช้ คือ (1) แบบบันทึกการสำรวจ และ (2) อุปกรณ์และเครื่องมือตรวจคุณภาพทางด้านจุลินทรีย์ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจ้าของฟาร์มและผู้เกี่ยวข้อง แล้วเก็บตัวอย่างสาหร่ายพวงองุ่นที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ พร้อมจำหน่ายจากฟาร์มทั้ง 4 แห่ง แห่งละ 3 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิตินอน-พาราเมตริกครูสคัล-วอลลิส ผลการวิจัยพบว่า (1) ระบบการเพาะเลี้ยงของฟาร์มทั้ง 4 แห่งมีวิธีการจัดการไม่แตกต่างกัน (2) การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของฟาร์มทั้ง 4 แห่ง มีวิธีการจัดการ ไม่แตกต่างกัน (3) คุณภาพด้านเชื้อจุลินทรีย์ในสาหร่ายพวงองุ่นของฟาร์มทั้ง 4 แห่ง มีการตรวจพบเชื้อ Vibrio parahaemolyticus เพียง 1 ตัวอย่าง จาก 12 ตัวอย่าง และไม่พบความแตกต่างทางสถิติของปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในสาหร่ายพวงองุ่นจากฟาร์มทั้ง 4 แห่ง และ (4) การเพาะเลี้ยง และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของฟาร์มทั้ง 4 แห่งมีความสัมพันธ์กับคุณภาพทางด้านจุลินทรีย์ในสาหร่ายพวงองุ่นโดยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

References

กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง. (2560). การจัดการความรู้ การเพาะเลี้ยงและการจัดการสาหร่ายพวงองุ่นหลังการเก็บเกี่ยว. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2561. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20170808161509_file.pdf

จรัญ บุญรงค์ และทวิช สนธิวรรณ. (ม.ป.ป.). ผลของระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa lentillifera) ที่เลี้ยงในตู้ปลา. สถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง. ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2564. http://nrei.rmutsv.ac.th/sites/default/files/data/AQ/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88%20%20%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8D.pdf

ชยุตม์ กระสินธุ์, ธีร ศรีสวัสดิ์ และนิตยา อัมรัตน์. (2021). ผลของวิธีการเพาะเลี้ยงต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายผมนางในพื้นที่ทุ่งใสไช จังหวัดสุราษฎธานี. วารสารแก่นเกษตร. 49(ฉบับพิเศษ 1): 134-139.

ชัยวัฒน์ พูลศรีกาญจน์, อรุณ บ่างตระกูลนนท์, ศรีรัตน์ พรเรืองวงศ์, กรวรรณ นพพรพรร และสืบเนื่อง ชัยชนะ. (2552). การศึกษาวิธีทำลายเชื้อโรคอาหารเป็นพิษในหอยแครง. วารสารอาหาร. 39(3): 250-257.

ฐิฒารีย์ ชุติพงษ์วิเวท และกนกวรรณ ธูปพนม. (2562). ผลของการล้างด้วยน้ำโอโซนและน้ำเย็นต่อการควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ และคุณภาพการเก็บรักษาต้นอ่อนทานตะวัน. ปัญหาพิเศษปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (เทคโนโลยีการผลิตพืช) คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ทัศวรรณ ขาวสีจาน, สุวรรณา ภาณุตระกูล และศิริโฉม ทุ่งเก้า. (2550). การประเมินความเสี่ยงในการได้รับเชื้อกลุ่มวิบริโอจากการบริโภคหอยนางรมจากแหล่งเลี้ยงหอยนางรม ตำบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี. ใน เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45: สาขาวิทยาศาสตร์ 30 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2550. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 263-270.

นงนภัส โครงพิมาย, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และสินินุช ครุฑเมือง แสนเสริม. (2556). ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน ปี 2555 จังหวัดบุรีรัมย์. ใน เรื่องเต็มการประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10 6-7 ธันวาคม 2556. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นครปฐม. 2932-2938

นพรัตน์ มะเห, ดลฤดี พิชัยรัตน์ และอุไรวรรณ วัฒนกุล. (2561). การวิจัยการเปลี่ยนแปลงคุณภาพและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวสาหร่ายพวงองุ่น. รายงานการวิจัย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัย.

ปราณี วรเนตรสุดาทิพย์, ประยุทธ สีสวยหูต, ชุลีกร ลีโนนลาน และสนิทพิมพ์ สิมมาทัน. (2556). สถานการณ์เชื้อจุลินทรีย์อีโคไลและซัลโมเนลลาในผักจากแปลง เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารแก่นเกษตร. 41(ฉบับพิเศษ 1): 532-537.

ปิยะวรรณ กาสลัก, ธีรยุทธ เกิดไทย, สุเวทย์ นิงสานนท์ และรุจ มรกต. (2558). คุณภาพและความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิตพริกด้วยการจัดการระบบน้ำและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วันเพ็ญ แสงทองพินิจ ,อัจฉรา ภู่แดง, และเบญจวรรณ โมราศี. (2012). การตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ของมะเขือเทศราชินีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตําบล ดอนตูม อําเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. ใน The 4th NPRU National Conference 2012 12 – 13 July 2012. Nakhon Pathom Rajabhat University. Nakhon Pathom. 1-10.

สถาบันอาหาร. (2560). อาหารสุขภาพประจำปี 2017. จดหมายข่าวสถาบันอาหาร. 20(2): 4. ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2561. www.nfi.or.th.

สันติ ปริยะวาที. (2546). การใช้สาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa lentillifera J. Agardh) ในการบำบัดน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) แบบพัฒนา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร (สาขาวิทยาศาสตร์การประมง) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2560). เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560). พีทู ดีไซน์ แอนด์ พริ้นท์: กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2562). มาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงที่ดีสำหรับฟาร์มสาหร่ายทะเล มกษ.7434-2562.

อนุสรา แก่นทอง. (2015). เรื่องน่ารู้ของโปรตีนสกิมเมอร์. ค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563. http://www.nicaonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1582:2015-04-01-09-43-20&catid=42:2012-02-20-03-00-29&Itemid=124

Kudaka J., Itokazu K., Taira K., Nidaira M., Okano S., Nakamura M., Iwanaga S., Tominaga M. and Ohno A. (2008). Investigation and culture of microbial contaminants of Caulerpa lentillifera (Sea Grape). Shokuhin Eiseigaku Zasshi. 49(1): 11-15.

Le T.T., Nguyen T.M.T, Vu N.B. and Nguyen H.D. (2016). Effect of packaging to quality and shelf-life of fresh sea grapes (Caulerpa lentillifera J.Agardh, 1837). Journal of Fisheries science and Technology No.3-2016. Accessed 13 Oct. 2021. https://tailieumienphi.vn/doc/ effect-of-packaging-to-quality-and-shelf-life-of-fresh-sea-grapes-caulerpa-lenti-lfycuq.html

Mahmud Z.H., Neogi S.B., Kassu A., Wada T., Islam M.S., Nair G.B., Ota F. and others. (2007). Seaweeds as a reservoir for diverse Vibrio parahaemolyticus populations in Japan. International Journal of Food Microbiology. 118(1): 92-96.

Ratana-arporn P. and Chirapart A. (2006). Nutritional Evaluation of Tropical Green Seaweeds Caulerpa lentillifera and Ulva reticulata. Kasetsart Journal Natural Science. 40(Suppl.): 75–83.

Rodrigues R.Q., Loiko M.R., Daniel de Paula C.M., Hessel C.T., Jacxsens L., Uyttendaele M., Bender R.J. and Tondo E.C. (2014). Microbiological contamination liked to implementation of good agricultural practices in the production of organic lettuce in Southern Brazil. Food Control. 42(2014): 152-164.

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022 — Updated on 19-02-2024

Versions