การเพาะเลี้ยงและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่มีต่อคุณภาพด้านจุลินทรีย์ของ สาหร่ายพวงองุ่นในพื้นที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
สาหร่ายพวงองุ่น, การเพาะเลี้ยง, การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว, คุณภาพด้านจุลินทรีย์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น (2) ศึกษาระบบการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวสาหร่ายพวงองุ่น (3) ตรวจวิเคราะห์คุณภาพด้านจุลินทรีย์ของสาหร่ายพวงองุ่น และ (4) หาความสัมพันธ์ระหว่างการเพาะเลี้ยง และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวกับคุณภาพทางด้านจุลินทรีย์ในสาหร่ายพวงองุ่น ในพื้นที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาคือ ฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นในพื้นที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย ฟาร์มมาตรฐานจีเอพี ฟาร์มมาตรฐานจีเอพีและเกษตรอินทรีย์ ฟาร์มทั่วไปที่เพาะเลี้ยงสาหร่ายอย่างเดียว และฟาร์มทั่วไปที่เพาะเลี้ยงสาหร่ายและสัตว์น้ำ เครื่องมือที่ใช้ คือ (1) แบบบันทึกการสำรวจ และ (2) อุปกรณ์และเครื่องมือตรวจคุณภาพทางด้านจุลินทรีย์ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจ้าของฟาร์มและผู้เกี่ยวข้อง แล้วเก็บตัวอย่างสาหร่ายพวงองุ่นที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ พร้อมจำหน่ายจากฟาร์มทั้ง 4 แห่ง แห่งละ 3 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิตินอน-พาราเมตริกครูสคัล-วอลลิส ผลการวิจัยพบว่า (1) ระบบการเพาะเลี้ยงของฟาร์มทั้ง 4 แห่งมีวิธีการจัดการไม่แตกต่างกัน (2) การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของฟาร์มทั้ง 4 แห่ง มีวิธีการจัดการ ไม่แตกต่างกัน (3) คุณภาพด้านเชื้อจุลินทรีย์ในสาหร่ายพวงองุ่นของฟาร์มทั้ง 4 แห่ง มีการตรวจพบเชื้อ Vibrio parahaemolyticus เพียง 1 ตัวอย่าง จาก 12 ตัวอย่าง และไม่พบความแตกต่างทางสถิติของปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในสาหร่ายพวงองุ่นจากฟาร์มทั้ง 4 แห่ง และ (4) การเพาะเลี้ยง และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของฟาร์มทั้ง 4 แห่งมีความสัมพันธ์กับคุณภาพทางด้านจุลินทรีย์ในสาหร่ายพวงองุ่นโดยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 31-12-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น