This is an outdated version published on 29-05-2023. Read the most recent version.

ผลของอัตราการไหลของน้ำต่อการเจริญเติบโตของปลาดุกลูกผสม คะน้าใบหยิก และคุณภาพน้ำในระบบอะควาโปนิกส์ที่ใช้น้ำหมุนเวียน

Effect of water flow rates on growth of hybrid catfish (Clarias macrocephalus x C. gariepinus ), Curl leaf kale (Brassica oleracea var. acephala) and water quality parameters in aquaponic recirculating system

ผู้แต่ง

  • พีระ มีทรัพย์
  • พวงเพชร พิมพ์จันทร์
  • กฤติมา กษมาวุฒิ
  • สำเนาว์ เสาวกูล

คำสำคัญ:

ระบบอะควาโปนิกส์, ผักคะน้าใบหยิก, ปลาดุกลูกผสมลูกผสม, อัตราการไหล, การกำจัดสารอาหาร

บทคัดย่อ

การศึกษาอัตราการไหลของน้ำในระบบอะควาโปนิกส์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาปลาดุกลูกผสม และคะน้าใบหยิก (Brassica oleracea Acephala) คุณภาพน้ำ และประสิทธิภาพในการกำจัดสารอาหารที่มีอยู่ในน้ำ อัตราการไหลที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 2,000 (T1), 2,400 (T2) และ 2,700 (T3) ลิตรต่อชั่วโมง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แต่ละทรีตเม้นต์มี 3 ซ้ำ ระบบการเลี้ยงปลาใช้ถังขนาด 1,000 ลิตร ปลาดุกลูกผสมมีน้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 100 กรัม อัตราการปล่อย 100 ตัวต่อตารางเมตร ผักคะน้าใบหยิก ซึ่งเพาะเลี้ยงต้นกล้าแล้วจึงย้ายลงรางปลูกในระบบอะควาโปนิกส์ มีขนาดราง 1×5×0.20 เมตร3 จำนวน 50 ต้นต่อชุด ประเมินอัตราการเจริญเติบโต ผลผลิตของปลา พืช และคุณภาพของน้ำ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการทดลอง 90 วัน พบว่าอัตราการเจริญเติบโตของปลา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีค่าสูงขึ้นตามอัตราการไหลของน้ำที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักเฉลี่ยมีค่าสูงที่สุดที่ T3 (276.54±2.14 กรัม) โดยค่าเฉลี่ยในกลุ่ม T2 และ T1 เท่ากับ 247.11±1.91 กรัม และ 200.50±1.05 กรัม อัตรารอดสูงสุดในกลุ่ม T3 (99.67±0.58 เปอร์เซ็นต์) รองลงมาคือ T2 (86.00±2.00 เปอร์เซ็นต์) และ ต่ำสุดใน T1 (80.33±1.52เปอร์เซ็นต์) ผลผลิตปลาสุทธิ (กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) มีค่าสูงสุดคือ T3 (27.56±0.37) รองลงมาคือ T2 (21.25±0.38) และต่ำสุดใน T1 (17.71±0.31) ผลผลิตของผักคะน้าใบหยิกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลผลิตในรูปน้ำหนักสดสูงสุดที่พบ คือ T1 (185.81±3.90 กิโลกรัม) ตามด้วย T2 (185.81±3.90 กิโลกรัม) และ T3 (130.50±4.16 กิโลกรัม) โดยน้ำหนักแห้งมีค่าลดลงในลักษณะที่สอดคล้องกัน ระบบอะควาโปนิกส์สามารถลดปริมาณมลพิษของน้ำจากการเลี้ยงปลาได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณของ BOD5, TSS, TAN, NO2-N, NO3-N และ TP อยู่ในช่วงต่างๆ ดังต่อไปนี้ 44.88–53.51, 65.04-67.15, 2.25–85.60, 65.51-77.19, 65.82-74.77 และ 53.68–54.72 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการบำบัดมลพิษที่ดีที่สุดที่อัตราการไหลสูงที่สุดคือ 2,700 ลิตรต่อชั่วโมง

เผยแพร่แล้ว

30-08-2022 — Updated on 29-05-2023

Versions