เครื่องบีบสกัดน้ำขิงแบบเกลียวอัด

ผู้แต่ง

  • รณาพร เสนาสุธรรม หน่วยวิจัยวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและเครื่องจักรกลเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา หน่วยวิจัยวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและเครื่องจักรกลเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชณัฐ วิพัทนะพร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  • สุพรรณ ยั่งยืน หน่วยวิจัยวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและเครื่องจักรกลเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ขิง , เกลียวอัด , การสกัดน้ำขิง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องบีบสกัดน้ำขิงแบบใช้เกลียวสกัด การพัฒนามีขั้นตอนประกอบด้วย การหาคุณสมบัติทางกายภาพของขิง การออกแบบและสร้างเครื่องบีบสกัดน้ำขิงแบบใช้เกลียวสกัด ทดสอบสมรรถนะการทำงานโดยใช้แบบฟลูแฟลคทอเรียลด้วยแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ และวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม สำหรับเครื่องบีบสกัดน้ำขิงแบบใช้เกลียวที่พัฒนาขึ้น มีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ชุดส่งกำลัง ชุดคายกาก และชุดเกลียวอัด จากผลการทดสอบสมรรถนะการทำงานของเครื่องบีบสกัดแบบใช้เกลียวโดย ที่ความเร็วรอบมอเตอร์ 3 ระดับ คือ 32 52 และ 72 รอบต่อนาที กำหนดระยะของช่องคายกาก 3 ระดับ คือ 1 2 และ 3 มิลลิเมตร แบบเกลียว 2 ลักษณะ คือ แบบเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลดระยะพิตซ์ และแบบเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระยะพิตซ์คงที่ พบว่าที่ความเร็วรอบ 32 รอบต่อนาที ขนาดช่องคายกาก 1 มิลลิเมตร และเกลียวแบบเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลดระยะพิตซ์ สามารถบีบสกัดน้ำขิงได้มากที่สุด โดยมีประสิทธิภาพการบีบสกัดน้ำขิง ได้เฉลี่ยเท่ากับ 89.52 เปอร์เซ็นต์ และมีความชื้นของกากเฉลี่ย 70.60 เปอร์เซ็นต์ฐานเปียก จากการวิเคราะห์ผลทางเศรษฐศาสตร์พบว่า จุดคุ้มทุนในการผลิตอยู่ที่ 789.14 ลิตรต่อปี และมีระยะเวลาการคืนทุนภายใน 5 เดือน

References

ดารณี เจริญสุข. (2554). น้ำมันเมล็ดยางพารากับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียาง 5(3): 1-25.

ธรรมศักดิ์ พันธุ์แสนศรี และธัญญรัตน์ เชื้อสะอาด. (2551). การพัฒนาและทดสอบเครื่องสกัดน้ำมันสบู่ดำด้วยระบบอัดเกลียว. รายงานการวิจัย. สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ. แพร่.

อาชัย พิทยภาคย์, นคร ทิพยาวงศ์ และวสันต์ จอมภักดี. (2546). การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของการสกัดน้ำมันพืชเชิงกลสำหรับใช้ในชุมชนท้องถิ่น. Naresuan University Journal. 11(3): 1-9.

ASAE. (1993). Standards engineering practices data 40th edition. American society of agricultural engineering. USA.

Firdaus M., Salleh S.M., Nawi I., Ngali Z., Siswanto W.A. and Yusup E.M. (2017). Preliminary design on screw press model of palm oil extraction machine. Materials Science and Engineering 165: 1-7.

Hunt D. (2008). Farm power and machinery management. 10th Edition. Waveland Press, Inc. USA.

Karaj S. and Mller J. (2011). Optimizing mechanical oil extraction of Jatropha curcas L. seeds to press capacity oil recovery and energy efficiency. Industrial Crops and Products. 34: 1010–1016.

Said M.A.I., Abed K.A., Gad M.S. and Hassan A.H. (2017). Optimum oil yield from Egyptian Jatropha seeds using screw press. International Journal of Mechanical & Mechatronics Engineering IJMME-IJENS. 17(1): 46-56.

Samuel O.D. and Alabi A.G.F. (2012). Problems and solutions involve in oil processing from kernel seeds. Pacific Journal of Science and Technology. 13(1): 372-383.

Tarighi J., Mahmoudi A., and Rad M.K. (2011). Moisture-dependent engineering properties of sunflower (var Armaviriski). Australian Journal of Agricultural Engineering. 2(2): 40–44.

Tekad S. (2010). Analisa umur pemakaian screw press pada mesin pengekstraksi minyak mentah kelapa sawit. Jurnal Dinamis. 1(7): 1-9.

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022 — Updated on 19-02-2024

Versions