This is an outdated version published on 31-12-2022. Read the most recent version.

เครื่องบีบสกัดน้ำขิงแบบเกลียวอัด

ผู้แต่ง

  • รณาพร เสนาสุธรรม หน่วยวิจัยวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและเครื่องจักรกลเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา หน่วยวิจัยวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและเครื่องจักรกลเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชณัฐ วิพัทนะพร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  • สุพรรณ ยั่งยืน หน่วยวิจัยวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและเครื่องจักรกลเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ขิง , เกลียวอัด , การสกัดน้ำขิง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องบีบสกัดน้ำขิงแบบใช้เกลียวสกัด การพัฒนามีขั้นตอนประกอบด้วย การหาคุณสมบัติทางกายภาพของขิง การออกแบบและสร้างเครื่องบีบสกัดน้ำขิงแบบใช้เกลียวสกัด ทดสอบสมรรถนะการทำงานโดยใช้แบบฟลูแฟลคทอเรียลด้วยแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ และวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม สำหรับเครื่องบีบสกัดน้ำขิงแบบใช้เกลียวที่พัฒนาขึ้น มีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ชุดส่งกำลัง ชุดคายกาก และชุดเกลียวอัด จากผลการทดสอบสมรรถนะการทำงานของเครื่องบีบสกัดแบบใช้เกลียวโดย ที่ความเร็วรอบมอเตอร์ 3 ระดับ คือ 32 52 และ 72 รอบต่อนาที กำหนดระยะของช่องคายกาก 3 ระดับ คือ 1 2 และ 3 มิลลิเมตร แบบเกลียว 2 ลักษณะ คือ แบบเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลดระยะพิตซ์ และแบบเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระยะพิตซ์คงที่ พบว่าที่ความเร็วรอบ 32 รอบต่อนาที ขนาดช่องคายกาก 1 มิลลิเมตร และเกลียวแบบเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลดระยะพิตซ์ สามารถบีบสกัดน้ำขิงได้มากที่สุด โดยมีประสิทธิภาพการบีบสกัดน้ำขิง ได้เฉลี่ยเท่ากับ 89.52 เปอร์เซ็นต์ และมีความชื้นของกากเฉลี่ย 70.60 เปอร์เซ็นต์ฐานเปียก จากการวิเคราะห์ผลทางเศรษฐศาสตร์พบว่า จุดคุ้มทุนในการผลิตอยู่ที่ 789.14 ลิตรต่อปี และมีระยะเวลาการคืนทุนภายใน 5 เดือน

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

Versions