การกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากเศษไม้เทพทาโรในเชิงอุตสาหกรรม และการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี
คำสำคัญ:
น้ำมันหอมระเหย, เทพทาโร, การกลั่น, องค์ประกอบทางเคมีบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการทดลองการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากเศษไม้เทพทาโร โดยใช้เครื่องกลั่นขนาด 500 L ซึ่งเป็นเครื่องกลั่นที่ใช้ในอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันหอมระเหยทั่วไปนำมามาใช้ในการศึกษาและวิจัยในครั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากเศษไม้เทพทาโรที่กลั่นได้นั้นมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันหอมระเหย คือ 2.55% voil/wdry และ 2.80%woil/wdry ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยในอดีตที่ผ่านมา เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่า มีองค์ประกอบหลักเป็นแซฟรอล (Safrole) ในปริมาณมากที่สุดสูงถึง 95.92% และสารเคมีอื่น ๆ คือ Methyleugenol 0.7%, Benzene, 1,2,3-trimethoxy-5-(2-propenyl) 0.30% และ Eucalyptol 0.08% ตามลำดับ มีความหนาแน่น 1.100 g/cm3 ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญนำไปประยุกต์หรือปรับปรุงเทคนิคการกลั่นน้ำมันหอมระเหยและการเตรียมวัตถุดิบสำหรับการกลั่นจากไม้เทพทาโรในอนาคตได้ และเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจการผลิตน้ำมันหอมระเหย ไม้เทพทาโรเชิงพานิชย์ในอนาคตต่อไปได้เป็นอย่างดี
References
จิตตานันท์ สรวยเอี่ยม และบงกชรัตน์ ปิติยนต์. (2553). การใช้ประโยชน์น้ำมันหอมระเหยจากเศษรากไม้เทพทาโรในการผลิตน้ำมันนวดสำหรับสปา. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ. 140-147.
ทรรศนีย์ พัฒนเสรี และณัฏฐินี อนันตโชค. (2554). องค์ประกอบทางเคมีในน้ำมันหอมระเหยเทพทาโรจากจังหวัดพังงาและสงขลา. ใน การประชุมวิชาการด้านป่าไม้ “เทคโนโลยีด้านป่าไม้เพื่อประชาชน”. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
นิดา นุ้ยเด็น, วินัย สยอวรรณ, วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์, ธีเวลดี เกรบิจิโอกริส โฟโต, ชนิดา พลานุเวช และนิจศิริ เรืองรังษี. (2562). ผลของการดมน้ำมันระเหยเทพทาโรที่มีต่อระบบประสาทอัตโนมัติและสภาวะอารมณ์ของมนุษย์. วารสารพยาบาลทหารบก. 20(2): 83-92.
นำพน พิพัฒน์ไพบูลย์, สุริยา โชคเพิ่มพูน, ศรายุทธ พลสีลา, มงคล มีแสง และสัณหวัจน์ ทองแดง. (2563). การศึกษาปริมาณน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดในระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคนิคการกลั่นซ้ำ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 7(1): 113-120.
พิชญดา ฉายแสง, บงกชรัตน์ ปิติยนต์ และนุจารี ประสิทธิ์พันธ์. (2552). การผลิตน้ำมันหอมระเหยจากเศษรากไม้เทพทาโร(Cinnamomum porrectum (Roxb) Kosterm.). วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 40(3)(พิเศษ): 329-332.
สมเกียรติ กลั่นกลิ่น, ชูจิตร อนันตโชค, ทรรศนีย์ พัฒนเสรี, มโนชญ์ มาตรพลากร, สมบูรณ์ บุญยืน, คงศักดิ์ มีแก้ว และพรเทพ เหมือนพงษ์. (2552). เทพทาโร Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. รายงานการวิจัย แผนงานวิจัยและพัฒนาไม้หอมเพื่อเศรษฐกิจสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้: กรุงเทพฯ.
สุจิณณา กรรณสูตร. (2550). สมุนไพรไทยวัตถุดิบชั้นดีผลิตน้ำมันหอมระเหยสู่การแพทย์ทางเลือก. เทคโนโลยีชาวบ้าน. 19(3): 32-38.
Ju-Zhao L., Hong-Chang L., Yu-Jie F. and Qi C. (2022). Amomum tsao-ko essential oil, a novel anti-COVID-19 Omicron spike protein natural products: A computational study. Arabian Journal of Chemistry. 15(1): 103-109.
Ramya R., Ritin M.,Akshay V., Roop K. S., Ramandeep K., Ankit K., Naveen H., Aishwarya A., Swati S., Vikas S., Kapil G., Arnab G., Ashish B., Nanda G., Amrit P.S. and Amol N.P. (2022). Essential oil nebulization in mild COVID-19 (EONCO): Early phase exploratory clinical trial. Journal of Ayurveda and Integrative Medicine. 13(1): 100-109.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (4)
- 05-01-2023 (3)
- 04-01-2023 (2)
- 31-12-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น