This is an outdated version published on 31-12-2022. Read the most recent version.

การกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากเศษไม้เทพทาโรในเชิงอุตสาหกรรม และการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี

ผู้แต่ง

  • นำพน พิพัฒน์ไพบูลย์ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • สัณหวัจน์ ทองแดง คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • อมร ดอนเมือง คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • รัชฎาวรรณ อรรคนิมาตย์ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • สุรเชษฐ์ สีชำนาญ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

น้ำมันหอมระเหย, เทพทาโร, การกลั่น, องค์ประกอบทางเคมี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการทดลองการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากเศษไม้เทพทาโร โดยใช้เครื่องกลั่นขนาด 500 L ซึ่งเป็นเครื่องกลั่นที่ใช้ในอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันหอมระเหยทั่วไปนำมามาใช้ในการศึกษาและวิจัยในครั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากเศษไม้เทพทาโรที่กลั่นได้นั้นมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันหอมระเหย คือ 2.55% voil/wdry และ 2.80%woil/wdry  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยในอดีตที่ผ่านมา เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยมาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่า มีองค์ประกอบหลักเป็นแซฟรอล (Safrole) ในปริมาณมากที่สุดสูงถึง 95.92% และสารเคมีอื่น ๆ คือ Methyleugenol 0.7%, Benzene, 1,2,3-trimethoxy-5-(2-propenyl) 0.30% และ Eucalyptol 0.08% ตามลำดับ มีความหนาแน่น 1.100 g/cm3 ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญนำไปประยุกต์หรือปรับปรุงเทคนิคการกลั่นน้ำมันหอมระเหยและการเตรียมวัตถุดิบสำหรับการกลั่นจากไม้เทพทาโรในอนาคตได้ และเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจการผลิตน้ำมันหอมระเหย ไม้เทพทาโรเชิงพานิชย์ในอนาคตต่อไปได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

Versions