การขยายพันธุ์บอนสีด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

ผู้แต่ง

  • ขวัญเดือน รัตนา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ธิดารัตน์ ผ่องแผ้ว คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • วิทิดา สิงห์เชื้อ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ขจรพงศ์ ดาศรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ศุภาวีร์ แสงจันทร์จิรเดช คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

บอนสี, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, สารควบคุมการเจริญเติบโต

บทคัดย่อ

บอนสีเป็นไม้ประดับที่มีมูลค่าและนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากใบมีความสวยงาม มีสีสันและรูปร่างที่หลากหลาย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายพันธุ์บอนสีด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โดยการนำชิ้นส่วนใบอ่อนเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA เข้มข้น 0, 1.0, 3.0, 5.0 และ 7.0 มก./ล. ร่วมกับ NAA เข้มข้น 0, 0.5 และ 1.0 มก./ล. เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า อาหารที่เติม BA 1.0 มก./ล. ร่วมกับ NAA 1.0 มก./ล. ชักนำให้มีจำนวนต้นสูงสุด 9.9 ต้น และอาหารสูตร MS มีจำนวนใบเฉลี่ยสูงสุด 44.1 ใบ จากนั้นย้ายต้นอ่อนและแคลลัสมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่ปราศจากสารควบคุมการเจริญเติบโตเป็นเวลา 1 เดือน จึงย้ายไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA และ Kinetin เข้มข้น 0, 1.0, 3.0, 5.0 และ 7.0 มก./ล. และน้ำมะพร้าวเข้มข้น 10, 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ นาน 8 สัปดาห์ พบว่า อาหารที่เติมน้ำมะพร้าว 10% สามารถชักนำให้แคลลัสเจริญเป็นต้นสูงสุด 4.4 ต้น และจำนวนใบสูงสุด 9.8 ใบ และจากการย้ายต้นอ่อนไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 3.0 หรือ 5.0 มก./ล. หรือน้ำมะพร้าว 10 เปอร์เซ็นต์ พบว่า สามารถชักนำให้มีจำนวนต้นเฉลี่ยสูงสุด 2.7 ต้น และอาหารสูตร MS ที่เติม BA 5.0 มก./ล. พบจำนวนใบเฉลี่ยสูงสุด 16 ใบ จากการเพาะเลี้ยงต้นอ่อนบนอาหารสูตร MS ที่เติม NAA เข้มข้น 0, 0.5, 1.0 และ 2.0 มก./ล. นาน 8 สัปดาห์ พบว่า อาหารสูตร MS มีร้อยละการเกิดรากสูงสุด 87.5 เปอร์เซ็นต์ และอาหารที่เติม NAA 0.5 มก./ล. มีจำนวนรากสูงสุด 17.8 ราก จากนั้นย้ายต้นอ่อนบอนสีออกปลูกในสภาพธรรมชาติเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า บอนสีมีร้อยละการรอดชีวิต 80 เปอร์เซ็นต์

References

นูรูลฮูดา มะดีเย๊าะ, ไรฮาน ปียา และสาปีนา สาเฮ๊าะ. (2560). ผลของไซโทไคนินและความเข้มข้นต่อการเกิดยอดและจำนวนยอดของบอนสีในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. 2(2): 57-65.

บุญยืน กิจวิจารณ์. (2544). เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. สำนักคลังนานาวิทยา: กรุงเทพฯ.

ภพเก้า พุทธรักษ์, จินตนา แก้วดวงตื้บ และวารุต อยู่คง. (2554). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อว่านสี่ทิศและบอนสีในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(1): 18-23.

มณฑล สงวนเสริมศรี, วารุต อยู่คง และภพเกล้า พุทธรักษ์. (2556). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใบอ่อนของบอนสีในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารมหาวิทยาลัยพะเยา. 2(4): 17–21.

รุ่งนิรันดร์ สุขอร่าม. (2550). การชักนำให้เกิดหัวในหลอดทดลองของบอนพระยาเศวต (Caladium humboldti Schott.CV. Phraya Savet). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร.

สมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย. (2552). บอนสีราชินีแห่งไม้ใบ. สำนักพิมพ์บ้านและสวน: กรุงเทพฯ.

สุมนทิพย์ บุนนาค. (2556). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและการถ่ายยีนสู่พืช. พิมพ์ครั้งที่ 1. ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.

อรวรรณ วิชัยลักษณ์. (2548). บอนสี. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย: กรุงเทพฯ.

Ahmed E.U., Hayashi T. and Yazawa S. (2004). Auxin increase the occurrence of leaf-colour variants in Caladium regenerated from leaf explants. Scientia Horticulturae. 100: 153-159.

Ali A., Munawar A. and Naz S. (2007). An In Vitro Study on Micropropagation of Caladium bicolor. International Journal of Agriculturae & Biology. 9(5): 731-735.

Ali A.H., Atawia A.R., Youssef A.S., Soudi Y.F. and Abd el Satar M.M. (2022). Studies on micropropagation of caladium plants. Annals of Agricultural Science, Moshtohor. 60(1): 127-136.

Ikeuchi M., Sugimoto K. and Iwase A. (2013). Plant callus: mechanisms of induction and repression. Plant Cell. 25: 3159-73.

Molnár Z., Virág E. and Ördög V. (2011). Natural substances in tissue culture media of higher plants. Acta Biologica Szegediensis. 55(1): 123-127.

Mujib A., Banerjee S., Fatima S. and Ghosh P.D. (2008). Regenerated plant populations from rhizome-calli showed morphological and chromosomal changes in Caladium bicolor (Ait.) Vent. cv. bleeding heart. Propagation Ornamental Plants. 8(3): 138-143.

Neumann K.H., Kumar A. and Imani J. (2009). Plant cell and tissue culture-A tool in biotechnology basics and application. Springer-Verlag: Berlin Heidelberg.

Pierik R.L.M. (1987). In vitro culture of higher plants. 3rd Edition. Martinus Nijhoff Publishers: Dordrecht.

Seydi S., Negahdar N., Andevari R.T., Ansari M.H. and Kaviani B. (2016). Effect of BAP and NAA on micropropagation of Caladium bicolor (Aiton) Vent., an ornamental plant. Journal of Ornamental Plants. 6(1): 59-66.

Thepsithar C., Thongpukdee A. and Chiensil P. (2010). Micropropagation of Caladium bicolor (Ait.) vent. 'Thep Songsil' and Incidence of somaclonal variants. Acta Horticuturae. 855: 273-280.

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022 — Updated on 19-02-2024

Versions