การขยายพันธุ์บอนสีด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
คำสำคัญ:
บอนสี, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, สารควบคุมการเจริญเติบโตบทคัดย่อ
บอนสีเป็นไม้ประดับที่มีมูลค่าและนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากใบมีความสวยงาม มีสีสันและรูปร่างที่หลากหลาย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายพันธุ์บอนสีด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โดยการนำชิ้นส่วนใบอ่อนเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA เข้มข้น 0, 1.0, 3.0, 5.0 และ 7.0 มก./ล. ร่วมกับ NAA เข้มข้น 0, 0.5 และ 1.0 มก./ล. เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า อาหารที่เติม BA 1.0 มก./ล. ร่วมกับ NAA 1.0 มก./ล. ชักนำให้มีจำนวนต้นสูงสุด 9.9 ต้น และอาหารสูตร MS มีจำนวนใบเฉลี่ยสูงสุด 44.1 ใบ จากนั้นย้ายต้นอ่อนและแคลลัสมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่ปราศจากสารควบคุมการเจริญเติบโตเป็นเวลา 1 เดือน จึงย้ายไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA และ Kinetin เข้มข้น 0, 1.0, 3.0, 5.0 และ 7.0 มก./ล. และน้ำมะพร้าวเข้มข้น 10, 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ นาน 8 สัปดาห์ พบว่า อาหารที่เติมน้ำมะพร้าว 10% สามารถชักนำให้แคลลัสเจริญเป็นต้นสูงสุด 4.4 ต้น และจำนวนใบสูงสุด 9.8 ใบ และจากการย้ายต้นอ่อนไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 3.0 หรือ 5.0 มก./ล. หรือน้ำมะพร้าว 10 เปอร์เซ็นต์ พบว่า สามารถชักนำให้มีจำนวนต้นเฉลี่ยสูงสุด 2.7 ต้น และอาหารสูตร MS ที่เติม BA 5.0 มก./ล. พบจำนวนใบเฉลี่ยสูงสุด 16 ใบ จากการเพาะเลี้ยงต้นอ่อนบนอาหารสูตร MS ที่เติม NAA เข้มข้น 0, 0.5, 1.0 และ 2.0 มก./ล. นาน 8 สัปดาห์ พบว่า อาหารสูตร MS มีร้อยละการเกิดรากสูงสุด 87.5 เปอร์เซ็นต์ และอาหารที่เติม NAA 0.5 มก./ล. มีจำนวนรากสูงสุด 17.8 ราก จากนั้นย้ายต้นอ่อนบอนสีออกปลูกในสภาพธรรมชาติเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า บอนสีมีร้อยละการรอดชีวิต 80 เปอร์เซ็นต์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 31-12-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น