ความหลากชนิดของพืชให้สีและองค์ความรู้ในการย้อมสีธรรมชาติ ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขมร ในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เอื้อมพร จันทร์สองดวง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
  • นงค์นิด พระไชยบุญ คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พืชให้สี, สีย้อมธรรมชาติ, กลุ่มชาติพันธุ์, ไทเขมร

บทคัดย่อ

การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน องค์ความรู้เหล่านี้กำลังจะหายไปเพราะการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์องค์ความรู้นี้ งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายระดับชนิดและภูมิปัญญาพื้นบ้านการใช้พืชย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขมร โดยทำการศึกษาในบ้านตาหยวก อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด การสำรวจในครั้งนี้มีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 20 คน โดยผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขมร ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ระหว่างเดือนกันยายน 2563-ตุลาคม 2564 พบพืชที่ใช้ในการย้อมสีทั้งหมด 40 ชนิด 37 สกุล 24 วงศ์ พบพืชวงศ์ Fabaceae มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด 10 ชนิด ส่วนของพืชที่ใช้มากที่สุด คือ ใบ 18 ชนิด (45%) แหล่งที่มาของพืชให้สีย้อมที่พบมากที่สุดคือในชุมชน จำนวน 36 ชนิด (90%) เฉดสีที่พบทั้งหมด 7 เฉดสี พืชที่มีค่าดัชนีการใช้ (Use Value Index: UV) มากที่สุด คือ ขนุน (Artocarpus heterophyllus Lam.) (0.85) รองลงมาเป็นประโหด (Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz) (0.75) และพบว่า มีการใช้แมลงครั่ง (Tachardia lacca Kerr.) ในการย้อมสีธรรมชาติมากที่สุด โดยมีค่า UV สูงสุดคือ 1 พบสารช่วยติดสี 4 ประเภท ได้แก่ โคลน สารส้ม ขี้เถ้า และน้ำมะขาม และนิยมสกัดสีย้อมแบบร้อนมากกว่าแบบเย็นหรือแบบหมัก การส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนหันกลับมาย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติให้มากขึ้นนั้นช่วยให้เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ในการย้อมสีธรรมชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การอนุรักษ์พืชและองค์ความรู้ในการย้อมสีธรรมชาติในชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมรต่อไป

Author Biography

นงค์นิด พระไชยบุญ, คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

References

กระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกองอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2542). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีการวัดสี. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว: กรุงเทพฯ.

จารุวรรณ ฉัตรทอง. (2554). การสกัดสีจาก Neurospora sp. รายงานการวิจัย สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ.

ชนาธินาถ ไชยภู. (2556). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกสะตอ กรณีศึกษากลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติบ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัยวัฒน์ แก้วคล้ายขจรศิริ. (2555). การศึกษากระบวนการผ้าย้อมครามและพืชชนิดอื่นเพื่อพัฒนาผ้าทอมือจากสีธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ชวนพิศ สีมาขจร, พุทธชาด ลีปายะคุณ และสมชาย ลือมั่นคง (2552). คู่มือภูมิปัญญาการฟอกย้อมสีไหมจากวัสดุธรรมชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรมหม่อนไหม. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพฯ.

นันทิพย์ หาสิน. (2562). รายงานการวิจัยการศึกษากระบวนการสกัดสีธรรมชาติจากพืชเพื่องานมัดย้อม. สาขาคหกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 7. โรงพิมพ์เจริญผล: กรุงเทพฯ.

บุษบงค์ ฝั้นแจ้ง. (2560). การศึกษาภูมิปัญญาการย้อมสีพื้นบ้านด้วยวัตถุดิบธรรมชาติของกลุ่มสตรีทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ, สุนทร ดุริยะประพันธ์, ทักษิณ อาชวาคม, สายันต์ ตันพานิช, ชลธิชา นิวาสประกฤติ และปรียานันท์ ศรสูงเนิน. (2544). ทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: พืชที่ให้สีย้อมและแทนนิน. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์: กรุงเทพฯ.

วิเชษฐ์ จันทร์คงหอม, อุทัย เอกสะพัง และวุฒิ วัฒนสิน. (2554). การผลิตสีเพื่อการย้อมผ้าและการย้อมด้ายของกลุ่มชาวบ้านในจังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. 6(1): 219-231.

วิโรจน์ เกษรบัว และแก้ว อุดมศิริชาคร. (2556). คู่มือพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สมชญา ศรีธรรม, วสา วงศ์สุขแสวง และประดิภา ปานสันเทียะ. (2563). ความหลากชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ด้านการให้สีย้อมธรรมชาติ: กรณีศึกษา ป่าชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี. 1(2): 17-32.

ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. (2544). รายชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). ประชาชน จำกัด: กรุงเทพฯ.

สไว มัฐผา และประนอม จันทรโณทัย. (2558). พืชสกุลครามในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เอื้อมพร จันทร์สองดวง, กนกกรณ์ ศิริทิพย์, รัชนีพร นาไชย, ลัดาวัลย์ บัวคำโคตร และเบญจมาศ อ่อนพุทธา. (2561). พืชที่ให้สีย้อมและองค์ความรู้พื้นบ้านในการย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาว ในอำเภออาจสามารถ และอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย. 10(1): 109-126.

Höft M., Barik S.K. and Lykke A.M. (1999). Quantitative ethnobotany. Applications of Multivariate and Statistical

Analysis in Ethnobotany. People Plant Working Paper: Paris.

Junsongduang A., Sirithip K., Inta A., Nachai R., Onputtha B., Tanming W. and Balslev H. (2017). Diversity and

traditional knowledge of textile dyeing plants in Northeastern Thailand. Economic Botany. 71(3): 241-255.

Lambare D.A., Hilgert N.I. and Ramos, R.S. (2011). Dyeing plants and knowledge transfer in the Yungas communities of Northwest Argentina. Economic Botany. 65(3): 315-328.

Lawarence B., Mahesh S., Aswathy J.M., Murugan, G. and Murugan, K. (2015). Ethnic knowledge of dye yielding plants used by the Kani tribes of Ponmudi Hill: A case study. Indo American Journal of Pharm Research. 5(07): 2611-2616.

MacFoy C. (2004). Ethnobotany and sustainable utilization of natural dye plants in Sierra Leone. Economic

Botany. 58(Supplement): S66-S76.

Nirathron N. (2021). Home Work in Thailand. In Home-Based Work and Home-Based Workers (1800-2021).

Koninklijke Brill: NetherlandNilvarangkul K., Wongprom,J., Pinchareon, S. and Thanattherakul C. (2004). Assessing the health impact of the One Tumbon One Product policy on local fabric weaving groups in North-Eastern Thailand. Journal of Nurses’ Association of Thailand North-Eastern Division. 22: 57-65.

Nilvarangkul K., Wongprom J., Tumnong C., Supornpun A., Surit, P. and Srithongchai N. (2006). Strengthening the self- care of women working in the in formal sector: Local fabric weaving in Khon Kaen Thailand (Phase I). Industrial Health. 44: 101-107.

Phillips O., Gentry A.H., Reynel C., Wilkin P., and Galvez D.B.C. (1994). Quantitative ethnobotany and Amazonian conservation. Conservation Biol. 8: 225–248.

Rosli N., Ismail Z. and Lepun P. (2015). Plants used as natural dye by the Orang Ulu Ethnics in Asap Koyan Belaga Sarawak, Malaysia. International Journal of Current Research. 7(8): 19770-19775.

Smitinand T., Santisuk T. and Larsen K. (2005). Flora of Thailand. In Smitinand T., Santisuk T. and Larsen K., Editors. Diamond Printing. Bangkok.

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022 — Updated on 19-02-2024

Versions