This is an outdated version published on 31-12-2022. Read the most recent version.

ความหลากชนิดของพืชให้สีและองค์ความรู้ในการย้อมสีธรรมชาติ ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขมร ในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เอื้อมพร จันทร์สองดวง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
  • นงค์นิด พระไชยบุญ คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พืชให้สี, สีย้อมธรรมชาติ, กลุ่มชาติพันธุ์, ไทเขมร

บทคัดย่อ

การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน องค์ความรู้เหล่านี้กำลังจะหายไปเพราะการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์องค์ความรู้นี้ งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายระดับชนิดและภูมิปัญญาพื้นบ้านการใช้พืชย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขมร โดยทำการศึกษาในบ้านตาหยวก อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด การสำรวจในครั้งนี้มีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 20 คน โดยผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขมร ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ระหว่างเดือนกันยายน 2563-ตุลาคม 2564 พบพืชที่ใช้ในการย้อมสีทั้งหมด 40 ชนิด 37 สกุล 24 วงศ์ พบพืชวงศ์ Fabaceae มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด 10 ชนิด ส่วนของพืชที่ใช้มากที่สุด คือ ใบ 18 ชนิด (45%) แหล่งที่มาของพืชให้สีย้อมที่พบมากที่สุดคือในชุมชน จำนวน 36 ชนิด (90%) เฉดสีที่พบทั้งหมด 7 เฉดสี พืชที่มีค่าดัชนีการใช้ (Use Value Index: UV) มากที่สุด คือ ขนุน (Artocarpus heterophyllus Lam.) (0.85) รองลงมาเป็นประโหด (Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz) (0.75) และพบว่า มีการใช้แมลงครั่ง (Tachardia lacca Kerr.) ในการย้อมสีธรรมชาติมากที่สุด โดยมีค่า UV สูงสุดคือ 1 พบสารช่วยติดสี 4 ประเภท ได้แก่ โคลน สารส้ม ขี้เถ้า และน้ำมะขาม และนิยมสกัดสีย้อมแบบร้อนมากกว่าแบบเย็นหรือแบบหมัก การส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนหันกลับมาย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติให้มากขึ้นนั้นช่วยให้เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ในการย้อมสีธรรมชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การอนุรักษ์พืชและองค์ความรู้ในการย้อมสีธรรมชาติในชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมรต่อไป

Author Biography

นงค์นิด พระไชยบุญ, คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

Versions