ระบบจอดรถอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

ผู้แต่ง

  • เปรม อิงคเวชชากุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • กิตติคุณ บุญเกตุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ระบบจอดรถอัจฉริยะ , อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง , ไมโครคอนโทรลเลอร์

บทคัดย่อ

วิจัยฉบับนี้ได้ทำการศึกษาเรื่อง ระบบจอดรถอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบจอดรถอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ศึกษาการใช้งานอุปกรณ์ไมโครคอนโทรเลอร์ NodeMCU และเซนเซอร์ Ultrasonic Module HY-SRF05 Distance ตรวจจับยานพาหนะที่เข้ามาจอดในที่จอดรถ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุในการจอดรถกับระบบงานการจัดการที่จอดรถในปัจจุบัน 2) ศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการวิจัย 3) การออกแบบและพัฒนาระบบ โดยระบบสามารถแสดงสถานะช่องจอดรถผ่านหน้าจอแสดงผลเพื่อทำให้ประหยัดเวลาในการวนหาที่จอด และช่วยลดค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการสูญเสียพลังงานเชื้อเพลิงหรือมลพิษที่เพิ่มขึ้น จากการทดสอบพบว่า เมื่อผู้ใช้งานถอยรถเข้าจอดในช่องจอด อุปกรณ์ส่งสัญญาณที่พัฒนาไว้จะส่งข้อมูลไปยังแอปพลิเคชันเพื่อเป็นการอัพเดตสถานะของช่องจอดรถ และส่งค่าไปยังฐานข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล จากนั้นแสดงข้อมูลสถานะช่องจอดรถบนหน้าจอแสดงผล ทั้งยังสามารถนำทางไปยังสถานที่จอดรถในแต่ละอาคารได้ นอกจากนี้ยังได้มีการดำเนินการทดลองใช้ระบบจอดรถอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งที่พัฒนาขึ้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ในการพิจารณาและประเมินประสิทธิภาพในระบบจอดรถอัจฉริยะ โดยใช้แบบประเมินคุณภาพ พบว่า ผลการประเมินคุณภาพระบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนมากที่สุด 3 อันดับแรก ในด้านการออกแบบมีความเหมาะสม ความปลอดภัยในการใช้งาน และผลลัพธ์ที่ได้มีความถูกต้องแม่นยำ ผลการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบ พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจสูงสุดในด้านประโยชน์ของการใช้งาน รองลงมา คือ ด้านความรวดเร็วของการใช้งาน ด้านความปลอดภัยในการใช้งาน ด้านความถูกต้องของการทำงาน และด้านการออกแบบระบบ

References

จักรพันธ์ นันทบุตร. (2556). Solar energy harvesting in wireless sensor network. โครงงานวิศวกรรม. สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา.

จิณณพัต นิลคำ, อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา และไพศาล สิมาเลาเต่า. (2565). การพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันระบบจัดการที่จอดรถแบบสมาร์ทด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและอาร์เอฟไอดี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14. 7 – 8 กรกฎาคม 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม. 720-730.

เกรียงไกร สว่างวงศ์, พีรภัทร ใสสกุล, วรเทพ ศรีแสงยศ, อนุศิษฐ์ ทิพย์ภูนอก และนัฐพงศ์ ส่งเนียม. (2563). การพัฒนาระบบจองที่จอดรถอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง. วารสารวิชาการวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 2(1): 57-68.

ชัชชัย คุณบัว. (2562). IoT สถาปัตยกรรมการสื่อสาร Internet of Things. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เดชวิทธ์ รัศมี และธงรบ อักษร. (2560). ระบบการจัดการลานจอดรถยนต์ด้วยไมโครคอนโทรเลอร์. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2 การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน. 26-27 กรกฎาคม 2560. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี. 421-428.

ภาสกร พาเจริญ. (2562). พัฒนา IoT บนแพลตฟอร์ม Arduino ด้วย NodeMCU. กรุงเทพฯ: บริษัท โปรวิชั่น จำกัด.

ยศพล จูฑะโยธิน, สราวุฒิ เพ็ชรทับทิม, วัชรพล อินเกสร, ทินกร ชุณหภัทรกุล, ฐิติยา เนตรวงษ์ และสุระสิทธิ์ ทรงม้า. (2564). ตู้อบกล้วยพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบไฮบริด. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี. 2(3): 44-56.

Aydin I., Karakose M. and Karakose E. (2017). A navigation and reservation based smart parking platform using genetic optimization for smart cities. In 2017 5th International Istanbul Smart Grid and Cities Congress and Fair (ICSG). Turkey. 120-124.

Buyya R. and Dastjerdi A.V. (2016). Internet of things: principles and paradigms. Amsterdam: Morgan Kaufmann.

Hainalkar G.N. and Vanjale M.S. (2018). Smart parking system with pre & post reservation, billing and traffic app. In 2017 International Conference on Intelligent Computing and Control Systems (ICICCS). India. 500-505.

Kandasamy R., Raut S., Varma D. and There G. (2013). Design of solar tricycle for handicapped person. Journal of Mechanical and Civil Engineering. 25(2): 11-24.

Michael S.S. (2015). Protecting privacy in an IoT-connected world. Information Management. 49(6): 36-39.

Padraig S. and Lueth K.L. (2016). Guide to IoT Solution Development. Accessed 10 Sep 2022. https://iot-analytics.com/product/guide-to-iot-solution-development.

Yugopuspito P., Herwansyah R.A., Krisnadi D., Cahya S. and Panduwinata F. (2016). Performance notification in a reservation based parking system. In 2016 International Seminar on Intelligent Technology and Its Applications (ISITIA). Indonesia. 429-434.

เผยแพร่แล้ว

29-04-2023 — Updated on 19-02-2024

Versions