ระบบจอดรถอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
คำสำคัญ:
ระบบจอดรถอัจฉริยะ , อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง , ไมโครคอนโทรลเลอร์บทคัดย่อ
วิจัยฉบับนี้ได้ทำการศึกษาเรื่อง ระบบจอดรถอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบจอดรถอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ศึกษาการใช้งานอุปกรณ์ไมโครคอนโทรเลอร์ NodeMCU และเซนเซอร์ Ultrasonic Module HY-SRF05 Distance ตรวจจับยานพาหนะที่เข้ามาจอดในที่จอดรถ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุในการจอดรถกับระบบงานการจัดการที่จอดรถในปัจจุบัน 2) ศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการวิจัย 3) การออกแบบและพัฒนาระบบ โดยระบบสามารถแสดงสถานะช่องจอดรถผ่านหน้าจอแสดงผลเพื่อทำให้ประหยัดเวลาในการวนหาที่จอด และช่วยลดค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการสูญเสียพลังงานเชื้อเพลิงหรือมลพิษที่เพิ่มขึ้น จากการทดสอบพบว่า เมื่อผู้ใช้งานถอยรถเข้าจอดในช่องจอด อุปกรณ์ส่งสัญญาณที่พัฒนาไว้จะส่งข้อมูลไปยังแอปพลิเคชันเพื่อเป็นการอัพเดตสถานะของช่องจอดรถ และส่งค่าไปยังฐานข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล จากนั้นแสดงข้อมูลสถานะช่องจอดรถบนหน้าจอแสดงผล ทั้งยังสามารถนำทางไปยังสถานที่จอดรถในแต่ละอาคารได้ นอกจากนี้ยังได้มีการดำเนินการทดลองใช้ระบบจอดรถอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งที่พัฒนาขึ้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ในการพิจารณาและประเมินประสิทธิภาพในระบบจอดรถอัจฉริยะ โดยใช้แบบประเมินคุณภาพ พบว่า ผลการประเมินคุณภาพระบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนมากที่สุด 3 อันดับแรก ในด้านการออกแบบมีความเหมาะสม ความปลอดภัยในการใช้งาน และผลลัพธ์ที่ได้มีความถูกต้องแม่นยำ ผลการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบ พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจสูงสุดในด้านประโยชน์ของการใช้งาน รองลงมา คือ ด้านความรวดเร็วของการใช้งาน ด้านความปลอดภัยในการใช้งาน ด้านความถูกต้องของการทำงาน และด้านการออกแบบระบบ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 29-04-2023 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น