การพัฒนา การพัฒนาระบบควบคุมสภาพแวดล้อมโรงเรือนเพาะปลูกเห็ดนางรมภูฐาน โดยใช้ระบบสมองกลฝังตัวไอโอที

ผู้แต่ง

  • ธีรพงศ์ เพ็ญเนตร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • คมทอง โยวะผุย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ชูศักดิ์ จาระงับ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ภาณุพงศ์ บุญรมย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • อุดมเดช ทาระหอม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปิยนุช วรบุตร คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

เห็ดนางรมภูฐาน , โรงเรือนเพาะปลูก , ระบบสมองกลฝังตัวไอโอที

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบควบคุมสภาพแวดล้อมโรงเรือนเพาะปลูกเห็ดนางรมภูฐาน โดยใช้ระบบสมองกลฝังตัวไอโอที 2) เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตและรายได้จากการเพาะปลูกเห็ดนางรมภูฐาน โดยใช้ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมโรงเรือน การทำงานของระบบมีการตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นจากเซนเซอร์ SHT20 โดยระบบมีการควบคุมอุณหภูมิไว้ไม่เกิน 33 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิเกินกว่าที่กำหนด พัดลมระบายอากาศและระบบทำความเย็นก็จะทำงานเพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสม ประสิทธิภาพของระบบควบคุมสภาพแวดล้อมโรงเรือนเพาะปลูกเห็ด โดยใช้ระบบสมองกลฝังตัวไอโอที ใช้วิธีการทดสอบระบบแบบ Black box testing ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรือนเพาะปลูกเห็ดสามารถตรวจจับอุณหภูมิ ความชื้น อากาศ และแสงสว่าง ทำให้โรงเรือนเพาะปลูกเห็ด มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกตลอดเวลา จากการประเมินหาประสิทธิภาพของระบบ พบว่า ประสิทธิภาพในภาพรวมของระบบอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.50, S.D.=0.50) 2) ผลการศึกษาต้นทุนการผลิตและรายได้จากการเพาะปลูกเห็ดนางรมภูฐาน โดยใช้ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมโรงเรือน พบว่า ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมโรงเรือนเพาะปลูกเห็ดนางรมภูฐาน จะเริ่มมีกำไรจากการเพาะปลูก เมื่อเข้าเดือนที่ 3 และ เดือนที่ 4

References

นวลศรี โชตินันทน์. (2561). โรงเรือนเพาะเห็ดนางรม ควบคุมสภาพอากาศอัตโนมัติ. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565. https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_88891.

วีรศักดิ์ ฟองเงิน, สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ และรัฐสิทธิ์ ยะจ่อ. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 5(1): 4-8.

สรรค์ จี้เพ็ชร์. (2559). การนำเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยุค 4.0 มาประยุกต์ใช้กับฟาร์มเกษตรขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรพรรณ คงมั่น. (2563). อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565. https://sites.google.com/site/eportorra/home/tdformanagework/unit2.

อรพรรณ แซ่ตั้ง, นิสา พุทธนาวงศ์ และณัฐพล ธนเชวงสกุล. (2560). การออกแบบโรงเรือนสำหรับควบคุมอุณหภูมิและความชื้น โดยใชเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดแครง. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา. 7(13): 87-97.

Gagne R.M., Wager W.W., Golas K.C., Keller J.M. and Russell J.D. (2005). Principles of instructional design. Accessed 10 Oct. 2022. https://research.com/education/the-addie-model.

Mohammed M.F., Azmi A. and Zakaria Z. (2018). IoT based monitoring and environment control system for indoor cultivation of oyster mushroom. Journal of Physics. 4-8.

Mustafa K. and Khan R.A. (2007). Software testing concepts and practices. Alpha Science: UK.

เผยแพร่แล้ว

29-04-2023 — Updated on 19-02-2024

Versions