This is an outdated version published on 29-04-2023. Read the most recent version.

การพัฒนา การพัฒนาระบบควบคุมสภาพแวดล้อมโรงเรือนเพาะปลูกเห็ดนางรมภูฐาน โดยใช้ระบบสมองกลฝังตัวไอโอที

ผู้แต่ง

  • ธีรพงศ์ เพ็ญเนตร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • คมทอง โยวะผุย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ชูศักดิ์ จาระงับ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ภาณุพงศ์ บุญรมย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • อุดมเดช ทาระหอม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปิยนุช วรบุตร คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

เห็ดนางรมภูฐาน , โรงเรือนเพาะปลูก , ระบบสมองกลฝังตัวไอโอที

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบควบคุมสภาพแวดล้อมโรงเรือนเพาะปลูกเห็ดนางรมภูฐาน โดยใช้ระบบสมองกลฝังตัวไอโอที 2) เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตและรายได้จากการเพาะปลูกเห็ดนางรมภูฐาน โดยใช้ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมโรงเรือน การทำงานของระบบมีการตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นจากเซนเซอร์ SHT20 โดยระบบมีการควบคุมอุณหภูมิไว้ไม่เกิน 33 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิเกินกว่าที่กำหนด พัดลมระบายอากาศและระบบทำความเย็นก็จะทำงานเพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสม ประสิทธิภาพของระบบควบคุมสภาพแวดล้อมโรงเรือนเพาะปลูกเห็ด โดยใช้ระบบสมองกลฝังตัวไอโอที ใช้วิธีการทดสอบระบบแบบ Black box testing ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรือนเพาะปลูกเห็ดสามารถตรวจจับอุณหภูมิ ความชื้น อากาศ และแสงสว่าง ทำให้โรงเรือนเพาะปลูกเห็ด มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกตลอดเวลา จากการประเมินหาประสิทธิภาพของระบบ พบว่า ประสิทธิภาพในภาพรวมของระบบอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.50, S.D.=0.50) 2) ผลการศึกษาต้นทุนการผลิตและรายได้จากการเพาะปลูกเห็ดนางรมภูฐาน โดยใช้ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมโรงเรือน พบว่า ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมโรงเรือนเพาะปลูกเห็ดนางรมภูฐาน จะเริ่มมีกำไรจากการเพาะปลูก เมื่อเข้าเดือนที่ 3 และ เดือนที่ 4

เผยแพร่แล้ว

29-04-2023

Versions