This is an outdated version published on 30-08-2023. Read the most recent version.

การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวหอมด้วยเครื่องหมายโมเลกุล SCoT

ผู้แต่ง

  • วลัยลักษณ์ ถึงคุณ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
  • ภัทรวรินทร์ โพธิ์ศรี คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
  • ปัทมา ศรีน้ำเงิน คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

คำสำคัญ:

ข้าวหอม, เครื่องหมายโมเลกุล SCoT, ความใกล้ชิดทางพันธุกรรม

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวสูง ลักษณะความหอมจัดเป็นลักษณะที่มีความสำคัญสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวพันธุ์นั้น ๆ ได้ และอัลลีลของยีนความหอมกระจายอยู่ในพันธุ์ข้าวโดยเฉพาะพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกทุกภาคของประเทศ การทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวหอม 26 พันธุ์/สายพันธุ์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล Start Codon Targets (SCoT) จำนวน 14 ไพรเมอร์ และสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวหอมเหล่านี้ ด้วยโปรแกรม NTSYSpc 2.2 ผลการศึกษาพบว่า ไพรเมอร์ SCoT ให้แถบลายพิมพ์
ดีเอ็นเอเฉลี่ย 12.21 แถบต่อไพรเมอร์ โดยมีแถบดีเอ็นเอที่แสดงความแตกต่างระหว่างข้าวแต่ละสายพันธุ์เฉลี่ย 11.07 แถบ คิดเป็น 90.64 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ พบความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวหอมมีค่าอยู่ในช่วง 0.60-0.86 และมีค่า Cophenetic correlation (r) อยู่ที่ 0.76 ถือว่าจัดกลุ่มได้ปานกลาง และสามารถจำแนกกลุ่มความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมได้
2 กลุ่มใหญ่โดยสอดคล้องไปกับลักษณะภายนอกที่ปรากฏ จากข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนเพื่ออนุรักษ์พันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวได้ในอนาคต

เผยแพร่แล้ว

30-08-2023

Versions