การกลั่นน้ำมันหอมระเหยจาก ผักแขยง ข่าป่า มะแขว่น และเปราะหอม เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมน้ำหอม
คำสำคัญ:
น้ำหอม, น้ำมันหอมระเหย, กลิ่น, ความหนาแน่น, การกลั่นบทคัดย่อ
จากการทดลองกลั่นน้ำมันหอมระเหยจาก ผักแขยง ข่าป่า มะแขว่น และเปราะหอม เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมน้ำหอม โดยน้ำมันหอมระเหยจากวัตถุดิบ 4 ชนิด ถูกนำมาเปรียบเทียบปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ ลักษณะของสี กลิ่น ความหนาแน่น เพื่อใช้เป็นแนวทางนำไปสู่การผลิตหรือการใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมน้ำหอมซึ่งจำเป็นต้องทราบถึงข้อมูลเหล่านี้ จากการทดลองพบว่าวัตถุดิบที่มีร้อยละของน้ำมันหอมระเหยมากที่สุดได้แก่ มะแขว่นที่ค่าสูงถึง 1.34 %v/w ลำดับถัดมาได้แก่ ผักแขยง เปราะหอม และข่าป่า ที่มีค่า 0.67, 0.46 และ 0.45 %v/w ตามลำดับ โดยลักษณะของสีของน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ทั้งหมดมีลักษณะสีเหลืองจางไปจนถึงสีเหลืองเข้มและมีความใส ไม่ขุ่น กลิ่นมีความชัดเจนโดดเด่นตามลักษณะวัตถุดิบที่นำมาสกัดและเมื่อสัมผัสร่างกาย กลิ่นยังคงติดทนอยู่ได้เป็นเวลานานหลายชั่วโมง เมื่อพิจารณาผลการศึกษาความหนาแน่นน้ำมันหอมระเหยโดยเปรียบเทียบค่าที่ได้จากการคำนวณและการวัด พบว่า ความหนาแน่นที่ได้จากการคำนวณและการวัดนั้นมีค่าใกล้เคียงกันหรือเท่ากันในวัตถุดิบทั้งหมดที่ทำการทดลอง สุดท้ายเมื่อพิจารณาเรื่องกลิ่นหรือ Note ของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด พบว่ามี Note ของน้ำมันหอมระเหยแตกต่างกันไปตามลักษณะของกลิ่นที่สัมผัสได้ในแต่ละช่วงเวลา โดยพบว่าน้ำมันหอมระเหย มะแขว่น และข่าป่า มีลักษณะของกลิ่นอยู่ในกลุ่ม Top note น้ำมันหอมระเหยผักแขยง ลักษณะของกลิ่นจัดอยู่ในกลุ่มของ Middle note และสุดท้าย น้ำมันหอมระเหยเปราะหอม จะมีลักษณะของกลิ่นอยู่ในกลุ่ม Base note โดยจากข้อมูลการทดลองครั้งนี้พบว่า น้ำมันหอมระเหยจากวัตถุดิบทั้ง 4 ชนิด มีความคุณสมบัติเหมาะสมที่จะใช้เป็นส่วนผสมต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมน้ำหอมได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 30-08-2023 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น