การกลั่นน้ำมันหอมระเหยจาก ผักแขยง ข่าป่า มะแขว่น และเปราะหอม เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมน้ำหอม

ผู้แต่ง

  • นำพน พิพัฒน์ไพบูลย์ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • นิรุต อ่อนสลุง คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • สมพร หงษ์กง คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • สุริยา โชคเพิ่มพูน คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • วัชรายุทธ ลำดวน คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • สุรเชษฐ์ สีชำนาญ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

น้ำหอม, น้ำมันหอมระเหย, กลิ่น, ความหนาแน่น, การกลั่น

บทคัดย่อ

จากการทดลองกลั่นน้ำมันหอมระเหยจาก ผักแขยง ข่าป่า มะแขว่น และเปราะหอม เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมน้ำหอม โดยน้ำมันหอมระเหยจากวัตถุดิบ 4 ชนิด ถูกนำมาเปรียบเทียบปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ ลักษณะของสี กลิ่น ความหนาแน่น เพื่อใช้เป็นแนวทางนำไปสู่การผลิตหรือการใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมน้ำหอมซึ่งจำเป็นต้องทราบถึงข้อมูลเหล่านี้ จากการทดลองพบว่าวัตถุดิบที่มีร้อยละของน้ำมันหอมระเหยมากที่สุดได้แก่ มะแขว่นที่ค่าสูงถึง 1.34 %v/w ลำดับถัดมาได้แก่ ผักแขยง เปราะหอม และข่าป่า ที่มีค่า 0.67, 0.46 และ 0.45 %v/w ตามลำดับ โดยลักษณะของสีของน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ทั้งหมดมีลักษณะสีเหลืองจางไปจนถึงสีเหลืองเข้มและมีความใส ไม่ขุ่น กลิ่นมีความชัดเจนโดดเด่นตามลักษณะวัตถุดิบที่นำมาสกัดและเมื่อสัมผัสร่างกาย กลิ่นยังคงติดทนอยู่ได้เป็นเวลานานหลายชั่วโมง เมื่อพิจารณาผลการศึกษาความหนาแน่นน้ำมันหอมระเหยโดยเปรียบเทียบค่าที่ได้จากการคำนวณและการวัด พบว่า ความหนาแน่นที่ได้จากการคำนวณและการวัดนั้นมีค่าใกล้เคียงกันหรือเท่ากันในวัตถุดิบทั้งหมดที่ทำการทดลอง สุดท้ายเมื่อพิจารณาเรื่องกลิ่นหรือ Note ของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด พบว่ามี Note ของน้ำมันหอมระเหยแตกต่างกันไปตามลักษณะของกลิ่นที่สัมผัสได้ในแต่ละช่วงเวลา โดยพบว่าน้ำมันหอมระเหย มะแขว่น และข่าป่า มีลักษณะของกลิ่นอยู่ในกลุ่ม Top note น้ำมันหอมระเหยผักแขยง ลักษณะของกลิ่นจัดอยู่ในกลุ่มของ Middle note และสุดท้าย น้ำมันหอมระเหยเปราะหอม จะมีลักษณะของกลิ่นอยู่ในกลุ่ม Base note โดยจากข้อมูลการทดลองครั้งนี้พบว่า น้ำมันหอมระเหยจากวัตถุดิบทั้ง 4 ชนิด มีความคุณสมบัติเหมาะสมที่จะใช้เป็นส่วนผสมต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมน้ำหอมได้

References

กานดา ล้อแก้วมณี, วราพร หนันแดง, ภานุวัฒน์ คัมภีราวัฒน์ และชื่นจิต จันทจรูณพงษ์. (2551). การศึกษาผลของการใช้สารสกัดจากผักแขยงและผักกระโดนน้ำในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Escherichia coli. ใน การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 5 วันที่ 8-9 ธันวาคม 2551: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นครปฐม. 1321-1328.

คณะกรรมการจัดการความรู้. (2562). คู่มือน้ำหอมและการประยุกต์ใช้ในการสอนและการวิจัยเครื่องสำอาง. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. เชียงราย. 1-15.

จิตตานันท์ สรวยเอี่ยม และบงกชรัตน์ ปิติยนต์. (2553). การใช้ประโยชน์น้ำมันหอมระเหยจากเศษรากวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันนวดสำหรับสปา. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2553: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 140-147.

จิตรลดา ปัญจากุล, ภนิดา วามนตรี และศิริกูล กล่ำกูล. (2552). การใช้ลูกประคบกระชายดำ เปราะหอม และไพลเพื่อบรรเทาอาการปวดเกร็งกล้ามเนี้อบ่า. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. เชียงราย.

จุรีภรณ์ อิ้มพัฒน์ และ นันทกานต์ วุฒิศิลป์. (2564). การพัฒนาน้ำมันนวดที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากผลมะแขว่นและฤทธิ์บรรเทาปวดที่มีต่อกล้ามเนื้อน่องในผู้เข้าร่วมวิจัยสุขภาพดี. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก. 19(1): 147-160.

ธัญญลักษณ์ อุทาทอง, ดุษฎี ศรีธาตุ, พงศธร ทองกระสี และนำพน พิพัฒน์ไพบูลย์. (2565). ประสิทธิผลของการสูดดมน้ำมันหอมระเหยสมุนไพรพื้นบ้านที่มีผลต่อความจำและอารมณ์ในนักศึกษา. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 20(1): 29-40.

น้องนุช เจริญกูล, ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์ และดุษฏี อุตภาพ. (2545). การผลิตเจลปรับอากาศโดยใช้สารหอมที่สกัดได้จากใบเตยหอม. วารสารวิจัย มจธ. 2(2): 185-201.

บงกช นพผล. (2545). การใช้สมุนไพรในการผลิตสัตว์: ข่า. วารสารสัตวแทย์ มข. 12(2): 28-34.

ปรรฐมาศ์ พสิษฐ์ภคกุล และสุพรรษา สมวงษ์. (2565). สถานภาพงานวิจัยภูมิปัญญาการใช้น้ำมันหอมระเหยในการบรรเทาอาการนอนไม่หลับ. วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. 2(1): 1-12.

พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, ยุทธนา บรรจง และลักขณา ต่างใจ. (2555). การทดลองกลั่นน้ำมันหอมระเหยพืชสมุนไพร 10 ชนิด ด้วยเครื่องกลั่นแก้วมาตรฐาน และเครื่องกลั่นระดับชุมชน. งานสวนพฤกษศาสตร์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ฉะเชิงเทรา.

ภานุพงศ์ โฉมจังหรีด และยุวรัตน์ เงินเย็น. (2562). ก้อนหอมดับกลิ่นทุเรียนจากน้ำมันหอมระเหยใบโหระพา. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 19(4): 80-85.

วรณี ตันกิติยานนท์. (2549). การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรด้วยวิธีการกลั่น. รายงานการวิจัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.

วรพล วังฆนานนท์ และอรรถกร เก่งพล. (2545). ระบบเชี่ยวชาญในการเลือกกลิ่นน้ำหอมเพื่อผลิตภัณฑ์โดยการประยุกต์ใช้โครงข่ายใยประสาทเทียมเพื่อเลือกแนวกลิ่นที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภค. ปริญญาวิทยานิพนธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร.

สิริภา ธุวะคำ. (2562). การเตรียมสารสกัดจากมะแขว่นเพื่อประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสาอาง. ปริญญาวิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เชียงราย.

อำพล บุญเพียร, วรินทร เชิดชูธีรกุล และ สายฝน ตันตะโยธิน. (2561). ประสิทธิผลของการนวดน้ำมันไพล และน้ำมันปาล์ม ต่อการปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ในนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 18(1): 17-30.

เผยแพร่แล้ว

30-08-2023 — Updated on 19-02-2024

Versions