การพัฒนาโรงเพาะเห็ดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าของเห็ดด้วยการควบคุม ผ่านสมาร์ทโฟนสำหรับวิสาหกิจชุมชนผู้เพาะเห็ด

ผู้แต่ง

  • ธนพร พยอมใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา
  • สมสิน วางขุนทด คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ฟาร์มอัจฉริยะ , ไมโครคอนโทรลเลอร์, การเพาะเห็ด

บทคัดย่อ

ปัจจุบันคนไทยหันมาใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น การบริโภคเห็ดจึงเป็นทางเลือกของผู้ที่รักสุขภาพ ซึ่งเห็ดถือเป็นที่นิยมและมีการนำมาประกอบเป็นอาหารรับประทานกันมาก ดังนั้นการเพาะเห็ดมีข้อจำกัดทางสภาพแวดล้อม ทำให้ผลผลิตที่ได้
ไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี จึงส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ด้วยเหตุดังกล่าวผู้วิจัย
จึงสนใจศึกษาการเพาะเห็ดด้วยระบบสมาร์ทฟาร์ม โดยการพัฒนาและออกแบบโรงเพาะเห็ดทีมีระบบควบคุมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สามารถช่วยให้การเพาะเห็ดเป็นงานง่าย ดูแลได้จากทุกพื้นที่ด้วยการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ในการออกแบบระบบควบคุมสภาพแวดล้อมแบบปิดสำหรับตู้เพาะเห็ดฟาร์มอัจฉริยะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนให้มีอุณหภูมิและความชื้นตามต้องการ โดยใช้การควบคุมอุณหภูมิและควบคุมความชื้นด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์มาเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเห็ด เพื่อให้เห็ดที่ได้มีสภาพสมบูรณ์ น้ำหนักดีขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรรมมีรายได้เพิ่มมากขึ้นต่อเดือนซึ่งเป็นอาชีพที่เหมาะกับในสถานการณ์โควิท ผลลัทธ์ที่ได้พบว่าขนาดของเห็ดระบบปิดมีขนาดประมาณ 8.6 เซนติเมตร และขนาดของเห็ดนอกตู้เพาะเห็ดมีขนาดประมาณ 6.7 เซนติเมตร โดยการทดลองจากผลผลิตก้อนเชื้อเห็ดจำนวน 300 ก้อนเท่ากัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับการเพาะเห็ดแบบทั่วไป ซึ่งผลลัทธ์จากการเพาะเห็ดระบบปิดจะได้น้ำหนักของเห็ดที่มากกว่าการเพาะเห็ดแบบทั่วไป 29.3% และจำนวนการรอบการเกิดเห็ดเพิ่มขั้น จากการทดลองเพาะเห็ดด้วยโรงเพาะเห็ดอัตโนมัติระยะเวลา 1 ปีสามารถสร้างรายได้ต่อเดือนมากกว่า 10,000 บาท

References

ชลธิชา โคประโคน. (2559). การศึกษาการลงทุนเพาะเห็ดนางฟ้า. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีรยศ เวียงทอง และประยูร จวงจันทร์. (2554). ระบบควบคุมอุณหภูมิความชื้นอัตโนมัติในโรงเรือนแบบปิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

บุญยัง สิงห์เจริญ และสันติ สาแก้ว. (2559). ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนเพาะเห็ด. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1. หน้า 176-183.

มงคล ฟุ้งธนะกุล. (2555). การลดอุณหภูมิภายในอาคารโดยใช้การทำความเย็นแบบระเหย. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภูมินทร์ ตันอุฒม์, ภัทรพงศ์ คูณเมือง, ธนากร วงษศา และธนสิทธิ นิตยะประภา. (2562). การพัฒนาตู้อนุบาลกล้วยไข่กำแพงเพชรโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์. 11(14): 25-39.

วีรศักดิ์ ฟองเงิน, สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ และรัฐสิทธิ์ ยะจ่อ. (2561) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 5(1): 172-182.

อรพรรณ แซ่ตั้ง, นิสา พุทธนาวงศ์ และณัฐพล ธนเชวงสกุล. (2560). การออกแบบโรงเรือนสำหรับควบคุมอุณหภูมิและความชื้นโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดแครง. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา. 7(13): 87-97.

Maheswari R., Ashok K.R. and Prahadee S.M. (2008). Precision farming technology, adoption decisions and productivity of vegetables in resource-poor environments. Agricultural Economics Research Review. 21: 415-424.

Shashwathi N., Priyam B. And Suhas K. (2012). Smart farming: A step towards techno-savvy agriculture. International Journal of Computer Applications. 57(18): 45-48.

เผยแพร่แล้ว

30-08-2023 — Updated on 19-02-2024

Versions