This is an outdated version published on 30-08-2023. Read the most recent version.

การพัฒนาโรงเพาะเห็ดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าของเห็ดด้วยการควบคุม ผ่านสมาร์ทโฟนสำหรับวิสาหกิจชุมชนผู้เพาะเห็ด

ผู้แต่ง

  • ธนพร พยอมใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา
  • สมสิน วางขุนทด คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ฟาร์มอัจฉริยะ , ไมโครคอนโทรลเลอร์, การเพาะเห็ด

บทคัดย่อ

ปัจจุบันคนไทยหันมาใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น การบริโภคเห็ดจึงเป็นทางเลือกของผู้ที่รักสุขภาพ ซึ่งเห็ดถือเป็นที่นิยมและมีการนำมาประกอบเป็นอาหารรับประทานกันมาก ดังนั้นการเพาะเห็ดมีข้อจำกัดทางสภาพแวดล้อม ทำให้ผลผลิตที่ได้
ไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี จึงส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ด้วยเหตุดังกล่าวผู้วิจัย
จึงสนใจศึกษาการเพาะเห็ดด้วยระบบสมาร์ทฟาร์ม โดยการพัฒนาและออกแบบโรงเพาะเห็ดทีมีระบบควบคุมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สามารถช่วยให้การเพาะเห็ดเป็นงานง่าย ดูแลได้จากทุกพื้นที่ด้วยการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ในการออกแบบระบบควบคุมสภาพแวดล้อมแบบปิดสำหรับตู้เพาะเห็ดฟาร์มอัจฉริยะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนให้มีอุณหภูมิและความชื้นตามต้องการ โดยใช้การควบคุมอุณหภูมิและควบคุมความชื้นด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์มาเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเห็ด เพื่อให้เห็ดที่ได้มีสภาพสมบูรณ์ น้ำหนักดีขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรรมมีรายได้เพิ่มมากขึ้นต่อเดือนซึ่งเป็นอาชีพที่เหมาะกับในสถานการณ์โควิท ผลลัทธ์ที่ได้พบว่าขนาดของเห็ดระบบปิดมีขนาดประมาณ 8.6 เซนติเมตร และขนาดของเห็ดนอกตู้เพาะเห็ดมีขนาดประมาณ 6.7 เซนติเมตร โดยการทดลองจากผลผลิตก้อนเชื้อเห็ดจำนวน 300 ก้อนเท่ากัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับการเพาะเห็ดแบบทั่วไป ซึ่งผลลัทธ์จากการเพาะเห็ดระบบปิดจะได้น้ำหนักของเห็ดที่มากกว่าการเพาะเห็ดแบบทั่วไป 29.3% และจำนวนการรอบการเกิดเห็ดเพิ่มขั้น จากการทดลองเพาะเห็ดด้วยโรงเพาะเห็ดอัตโนมัติระยะเวลา 1 ปีสามารถสร้างรายได้ต่อเดือนมากกว่า 10,000 บาท

เผยแพร่แล้ว

30-08-2023

Versions