การพัฒนาดินปลูกเพื่อการผลิตแตงโมในกระถางแบบแนวตั้งกลางแจ้ง
คำสำคัญ:
ดินปลูก, แตงโม, ปลูกแนวตั้ง, การผลิตแตงโมในกระถางบทคัดย่อ
การพัฒนาดินปลูกเพื่อการผลิตแตงโมในกระถางแบบแนวตั้งกลางแจ้งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรดินปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของแตงโมที่ปลูกในกระถางแบบแนวตั้งกลางแจ้ง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) จำนวน 4 สิ่งทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ มีสูตรดินปลูก คือ ดินปลูกสูตรที่ 1 ดินปลูกเพื่อการค้า (Control) ดินปลูกสูตรที่ 2 ดินร่วน:ขุยมะพร้าว:กาบมะพร้าวสับ:ขี้ไก่แกลบ อัตราส่วน 1:1:1:1 โดยปริมาตร ดินปลูกสูตรที่ 3 ขุยมะพร้าว:มูลวัว:ทราย:แกลบดิบ อัตราส่วน 1:2:1/2:1/2 โดยปริมาตร และดินปลูกสูตรที่ 4 ดินร่วน:ทราย: ขี้เถ้าแกลบ:มูลวัว อัตราส่วน 1:1:1:1 โดยปริมาตร ผลการศึกษาพบว่า ดินปลูกสูตรที่ 2 ทำให้แตงโมมีการเจริญเติบโตมากที่สุด ทั้งด้านเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น จำนวนใบ ความกว้างใบ และความยาวใบ รวมทั้งทำให้มีน้ำหนักผล และความหวานเนื้อของแตงโมมากที่สุดด้วย แต่ถ้ามองในด้านต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตที่คุ้มทุนของการผลิตแตงโมในลักษณะนี้พบว่า ดินปลูกสูตรที่ 3 มีต้นทุนในการผลิตต่ำและให้กำไรสูงที่สุด ดังนั้นหากจะทำการผลิตแตงโมในกระถางแบบแนวตั้งกลางแจ้งเพื่อการค้า สูตรดินที่เหมาะสมที่สุด คือ ดินปลูกสูตรที่ 3
References
กรมพัฒนาที่ดิน. (2566). ความรู้เรื่องดินสำหรับเยาชน. สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน. ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2566. http://www.oss101.ldd.go.th/web_soils_for_youth/s_type2.htm.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2565). รายงานสถิติทางการเกษตร กลุ่มพืชผัก แตงโมเนื้อ ระดับประเทศ: ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2566. http://www.nakhonsawan.doae.go.th/2016/images/Pongtorn/year2565/product2564-65.pdf.
ชมัยพร อนุวงศ์, สุริยา ก่อสินวัฒนา และสมลักษณ์ มะโรงชัย. (2563). ผลของวัสดุปลูกและปุ๋ยคอกต่อการเจริญเติบโตของพรมญี่ปุ่น. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 38(3): 304-314.
นิวัติ เรืองพานิชย์. (2535). วิทยาศาสตร์ทุ่งหญ้า. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.
ณัฏฐ์ชยธร ภัคจิราศิริกุล. (2563). ระบบการผลิตแตงโมอินทรีย์ภายใต้สภาพโรงเรือนพื้นที่ลุ่ม. วิสาหกิจชุมชนบ้านคลองไทร เพื่อนพึ่ง (ภาฯ). รวมเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563. http://www.mosttech.most.go.th/viewtech.php?id=414.
เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2565). ปลูกแตงโมหลังนา พืชหมุนเวียน ประโยชน์หลายต่อ ให้ผลคุ้มทุน. ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2566. https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_107938.
โสพัส แซ่ลิ้ม. (2559). ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน: กรุงเทพฯ.
อภิชาต ศรีสะอาด. (2559). ครบเครื่องเรื่องมะพร้าว. นาคา อินเตอร์มีเดีย: กรุงเทพฯ.
พรรณไม้ไทย. (2566). ดินหรือเครื่องปลูก เทคนิคการปลูกไม้กระถาง. ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2566. https://www.panmai.com/PotTechnic/Pot_06.shtml
Kirk R.E. (1995). Expermental design: procedures for the behavioral sciences. 3nd Edition. Brooks/Cole
Publishing Company: California.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 29-12-2023 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น